"เก่งหรือเฮง : Smart or Lucky" เล่มนี้ เป็นเรื่องราวของความเก่ง หรือความโชคดีที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ และจะรักษาความสำเร็จให้ได้ยั่งยืนตลอดไป อย่างไรก็ตามหลักประกันที่ดีที่สุด สำหรับความสำเร็จคือ การเรียนรู้ จากบทเรียนในประวัติศาสตร์ ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ศึกษาหาคำตอบ ของความสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นและความล้มเหลว ที่ผู้เขียนได้มีประสบการณืมาและเรียนรู้มาจากผู้อื่น โดยมีข้อสรุปจากเธอว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นจากฝีมือบวกดวง เมื่อดวงและความมีฝีมือมาประสบกัน สิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้นได้
1. ดวงดี มีได้ครั้งเดียว
2. การได้มาและการรักษาลูกค้า
3. การฟื้นคืนชีพของ ไอบีเอ็มและแอปเปิ้ล
4. กลยุทธ์ ซุ่มโจมตีของ กูเกิ้ล
5. ทำให้ลูกค้าเป็นพระเอกในองค์กร
6. บทเรียนจากยุคตามแห่
7. ฝันค้างของ เทคโนโลยีแห่งความหวัง
8. ความสำเร็จ ที่ต่อยอดจากผู้บุกเบิก
9. ไม่มีเทคโนโลยีวิเศษที่ตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง
10. ทิ้งของเก่าไปสู่สิ่งใหม่เพื่ออนาคต
บทส่งท้าย ทำให้ความเฮงเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืน ด้วยกฎเหล็ก 10 ข้อ
"เก่งหรือเฮง" พาผู้อ่านท่องไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสนุก จูดิธ เฮอร์วิทซ์ ใช้ประสบการณ์ส่วนตัวบวกกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ความสำเร็จและล้มเหลวของบริษัทเทคโนโลยี นำเสนอบทเรียนมากมายเกี่ยวกับความละเลย ไม่ใส่ใจ และความหยิ่งผยองของบริษัท "โชคดี" หรือในความเป็นจริง หมายถึง สภาวะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกบริษัท จุดแข็งที่แท้จริงของบริษัทที่อยู่รอดและเจริญเติบโตได้ คือ ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลง และยอมให้ตลาด รวมทั้งลูกค้าของพวกเขา เป็นผู้ชี้ทาง
-- Steve Mills --
Senior Vice President and Group Executive, Software & Systems IBM
จูดิธ เฮอร์วิทซ์ มีความสามารถในการทำนายแนวโน้มเทคโนโลยี และสื่อสารให้ผู้นำธุรกิจ เห็นความสำคัญของแนวโน้มเหล่านี้ เธอใช้ความสามารถนั้นอีกครั้งกับหนังสือเล่มนี้ ซึ่งสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในระบบคลาวด์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างอย่างรวดเร็ว
-- Marc Benioff --
Chairman and CEO Saleforce.com และผู้เขียนหนังสือเรื่อง Behind the Cloud
จูดิธ เฮอร์วิทซ์ วิเคราะห์ผู้ชนะและผู้แพ้ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างแหลมคม และให้คำแนะนำที่ชัดเจนแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งต้องการความสำเร็จที่ยั่งยืน
-- Don Tapscott --
ผู้เขียน Wikinomics และ Macrowikinomics