ครั้งแรกกับการวัดดัชนีความพร้อมรับ AEC ของธุรกิจไทย ด้วยการเสนอวิธีการวัดคาวมพร้อมของบริษัทด้วย ASEAN Readiness Index (ARI) เพื่อให้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง ในการแสวงหาโอกาสจากตลาดที่จะใหญ่ขึ้นจาก AEC ตลอดจนตระหนักถึงตำแหน่งของตนเองโดยเปรียบเทียบกับบริษัทชั้นนำในอาเซียน ซึ่งจะกลายมาเป็นคู่แข่งหรือพันธมิตรหลัง AEC
บทที่ 1 ดัชนีความพร้อมของบริษัทเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
บทที่ 2 มิติที่ 1 : ดัชนีความพร้อมการตลาดอาเซียน
บทที่ 3 5 กรณีศึกษาความพร้อมด้านการตลาดอาเซียน
บทที่ 4 มิติที่ 2 : ความสามารถทางการเงิน
บทที่ 5 กรณีศึกษา การลดข้อจำกัดทางเงินทุนด้วยบรรษัทภิบาล : บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บทที่ 6 มิติที่ 3 : ความสามารถด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทที่ 7 ผู้บริหารระดับสูงกับความพร้อมในอาเซียน
บทที่ 8 มิติที่ 4 : ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
บทที่ 9 การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยไอที : กรณีศึกษา 3 C (Central, Centralization, Center) ของ Centara
บทที่ 10 ความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ไทยเดินถูกทิศหรือหลงทาง?
บทที่ 11 อุตสาหกรรมเกิดใหม่ พลิกโฉมอาเซียน
ในขณะที่ทุกหน่วยงานในประเทศไทยกำลัง "ตื่นตัว" กับกระแส AEC จนเริ่มมีการตั้งคำถามว่าเรา "ตื่นตูม" เกินไปไหม ทำไมถึงต้องมีการจัดทำ ASEAN Readiness Index จากประสบการณ์ที่ดิฉันเคยทำวิจัยและทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำดัชนีความพร้อม เช่น e-Readiness ยังไม่พบว่ามีการประเมินในระดับองค์กร เป็นที่แน่นอนว่าผลกระทบของ AEC ที่จะเกิดต่อธุรกิจไทยนั้น คงไม่เกิดแบบ "ยกเข่ง" การประเมินความพร้อมของธุรกิจไทยโดยเปรียบเทียบกับองค์กรชั้นนำในอาเซียนจึงกล่าวได้ว่าเป็นงานศึกษาชิ้นแรกของประเทศไทยและลองค้นหาใน Google ก็อาจกล่าวได้ว่ายังไม่มีใครในโลกศึกษาเรื่องนี้มาก่อน
-- ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย --
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์