รูปภาพสินค้า รหัส9786166169669
9786166169669
หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการอธิบายฐานความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนที่ 2 เป็นขั้นตอนการดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้เขียนสหรัฐ กิติ ศุภการ

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 250.00 บาท
ราคาสุทธิ 250.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786166169669
จำนวน: 224 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 185 x 260 x 10 มม.
น้ำหนัก: 410 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: สุนทรี สรรเสริญ 
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็นการอธิบายฐานความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนที่ ๒ เป็นขั้นตอนการดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยเฉพาะในส่วนที่ ๒ ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสายกฎหมายอาญา ได้เห็นถึงแนวทางการดำเนินคดีในชั้นก่อนฟ้อง ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองว่าผู้ที่มาแจ้งความร้องทุกข์นั้นเป็นผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับความเท็จนั้นหรือไม่ เขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนซึ่งจะส่งผลถึงอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ รวมไปถึงเขตอำนาจศาลด้วย

ผู้อ่านจะได้เห็นถึงแนวทางการบรรยายฟ้อง เพื่อมิให้เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๕) ได้เห็นถึงแนวทางการดำเนินคดีในชั้นหลังฟ้อง โดยเฉพาะการเสนอพยานหลักฐาน ทั้งในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และชั้นพิจารณา สุดท้ายคือการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล เพื่อให้เห็นว่าพยานหลักฐานในระดับใดที่ศาลสามารถสั่งให้คดีมีมูลได้ และในระดับใดที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาด้านกฎหมายและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย
:: สารบัญ
ส่วนที่ ๑ ฐานความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา
๑. แจ้งความเท็จ (มาตรา ๑๓๗)
๒. แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา (มาตรา ๑๗๒)
๓. แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิด (มาตรา ๑๗๓)
๔. เหตุฉกรรจ์ (มาตรา ๑๗๔)
๕. ฟ้องเท็จ (มาตรา ๑๗๕)
ฯลฯ

ส่วนที่ ๒ ขั้นตอนการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๑. ผู้เสียหาย (มาตรา ๒ (๔))
๒. เขตอำนาจสอบสวน (มาตรา ๑๘. ๑๙)
๓. เขตอำนาจศาล (มาตรา ๒๒. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗, ๑๙/๑)
๔. คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (มาตรา ๔๔/๑)
๕. การบรรยายฟ้อง (มาตรา ๑๕๘ (๕))
ฯลฯ