รูปภาพสินค้า รหัส9786165786041
9786165786041
แค่มีมือถือและเงินหลักหมื่น ก็สามารถทำธุรกิจ Small Order นำเข้าสินค้าจากจีนมาจำหน่ายทั้งในเมืองไทยและทั่วโลก โดยที่ตัวคุณนอนเล่นอยู่ที่บ้าน
ผู้เขียนยุรนันท์ พลแย้ม (โค้ชตั้ม)

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 265.00 บาท
ราคาสุทธิ 265.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786165786041
จำนวน: 208 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 146 x 210 x 14 มม.
น้ำหนัก: 345 กรัม
เนื้อในพิมพ์: 2 สี 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: เช็ก, สนพ. 
:: เนื้อหาโดยสังเขป
ในอดีตใครที่คิดจะนำเข้าสินค้ามาขายคุณต้องมีเงินลงทุนนับล้านและมีสายป่านที่ยาวพอสมควร เพราะธุรกิจแบบนี้ใช่ใครก็ทำได้ ความร่ำรวยจึงถูกจำกัดเอาไว้ในวงแคบๆ ทว่าในยุคนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี ทำให้การทำธุรกิจนำเข้าเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ตที่ไวและมีเทคนิคจับกระแสความต้องการของลูกค้า ก็สามารถร่ำรวยจากการทำธุรกิจนำเข้าได้แล้ว

"โค้ชตั้ม" ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือหนึ่งในนักธุรกิจเหล่านั้นที่เริ่มต้นจากนักธุรกิจค้าขายเล็กๆ น้อยๆ บนโลกออนไลน์ จนกระทั่งนำเข้าสินค้าจากจีนในลักษณะ Small Order มาจำหน่ายบนโลกออนไลน์ผ่านทาง Facebook Lazada Shopee จนทำให้เขามีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทั้งยังสามารถปลดหนี้ปลดสินได้อย่างน่าชื่นชม จนหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า โค้ชตั้มทำอย่างไร มีเทคนิคอะไรบ้าง หากอยากสำเร็จจำเป็นต้องรู้ในเรื่องอะไร ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เขาได้ถ่ายทอดเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด ใครที่อยากทำธุรกิจแบบสบายๆ ลงทุนหลักหมื่น กำไรเป็นแสน ที่สำคัญไม่ต้องเหนื่อยมาก ทั้งยังมีไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องกับธีม New Normal อย่าพลาดหนังสือเล่มนี้เด็ดขาด
:: สารบัญ
บทที่ 1 ทำความรู้จักสินค้าจีน
บทที่ 2 รู้จักรูปแบบการขายสินค้า
บทที่ 3 เลือกสินค้าจีนอย่างไร
บทที่ 4 การสรรหา (Sourcing) สินค้าจีน โดยเดินทางไปด้วยตัวเอง
บทที่ 5 การนำเข้าสินค้าจีน โดยสั่งผ่านคนกลาง
บทที่ 6 การนำเข้าสินค้าจีน โดยสั่งจากเว็บไซต์จีน
บทที่ 7 การสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์เถาเปา (Taobao)
บทที่ 8 การสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ทีมอลล์ (Timall)
บทที่ 9 การสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ 1688
บทที่ 10 การสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อาลีเอ็กซ์เพรส (AliExpress)
บทที่ 11 การชำระค่าสินค้า
บทที่ 12 ชิปปิ้ง การขนส่ง และการเสียภาษี
บทที่ 13 กรณีตัวอย่าง
บทที่ 14 บทสรุป