นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้า และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการผลิตลูก อันเป็นความพยายามของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ที่ปรารถนาจะแก้ปัญหาการไร้ทายาทขาดทารก ซึ่งได้ลองผิดลองถูกกันมาหลายหน จนสามารถพัฒนามาเป็นทางเลือกให้ผู้สิ้นหวังได้ในปัจจุบัน ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับเบื้องลึกเบื้องหลัง ของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตลูก ซึ่งส่งผลกระทบที่สะท้อนสะเทือนไปสู่ความเป็นไปของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรม
"เดโบล่า แอล. สปาร์" บรรจงร้อยเรียงข้อมูล สถิติต่างๆ ที่เชื่อถือได้มาบอกเล่าอย่างครอบคลุมทุกด้าน ชัดเจนทุกประเด็น ในมุมมองที่หลากหลาย แปลโดยคุณหมอ "พูลศักดิ์ ไวความดี" สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ถ่ายทอดเนื้อหาออกมาอย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยภาษาที่กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และน่าติดตาม ทำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลอย่าครบถ้วนรอบด้าน
บทที่ 1 อยากมีลูกใจจะขาด ความปวดร้าวที่ฝังลึกมานมนาน ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
บทที่ 2 กระจุกก้อนของเซลล์ เฟืองล้อของตลาดการเจริญพันธุ์ยุคใหม่
บทที่ 3 มดลูกให้เช่า เพื่อเงิน และความรัก กำเนิดของตลาดการอุ้มบุญ
บทที่ 4 การออกแบบทารก แก้ไขข้อบกพร่องและก้าวสู่ความสมบูรณ์แบบ
บทที่ 5 กลับสู่ดาวเคราะห์ต้องห้าม ประเด็นที่หลากหลายในการโคลนมนุษย์
บทที่ 6 ตลาดแลกเปลี่ยนเด็ก ข้อเท็จจริงและการเมืองเรื่องการรับอุปถัมภ์เด็ก
บทที่ 7 บทเพลงแห่งโซโลมอน สร้างสรรค์เพื่อตลาดแลกเปลี่ยนเด็กที่ดีกว่าเดิม
หนังสือเล่มนี้ได้เขียนถึงธุรกิจเกี่ยวกับเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้อย่างครอบคลุม ประกอบกับผู้แปลซึ่งคร่ำหวอดในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคนิคต่างๆ มานาน และยังใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย น่าติดตาม ทำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้าน
-- ศ. นพ.สมบูรณ์ คุณาธิคม --
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553-2555
หนังสือ "ธุรกิจพันธุกรรม" เล่มนี้อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาที่ได้รับการแปลออกมาอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์คลุกคลีอยู่ในวงการรักษาผู้มีบุตรยาก และคุ้นเคยในการใช้เทคโนโลยีรักษาขั้นสูงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นอกจากนี้ยังเปี่ยมไปด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งวิทยาการทางการแพทย์ จริยธรรมในการดูแลรักษา รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุนที่จะมีลูกกับเขาสักคนหนึ่ง
-- ผศ. นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ --
สูตินรีแพทย์ และพิธีกรรายการ ชูรักชูรส
ยอมรับว่าทุกตัวอักษรที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมา ทำให้ผมนึกถึงตัวเอง เมื่อครั้งต้องเข้าโปรแกรมการมีบุตรยาก แต่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ครั้งมันก็ไม่เป็นผลสักที แต่เราก็ไม่ย่อท้อ จนวันหนึ่งเป็นวันของเรา ตอนนี้ผมมีลูกชาย 2 คนแล้ว และผมทราบดีว่า การพบพานกับความสูญเสียแตกต่างกันอย่างไร
-- สาโรจน์ มณีรัตน์ --
หัวหน้าข่าวประชาชาติธุรกิจ / คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์มติชน
ดูจะเรียบง่ายเกินไปถ้าจะบอกแค่ว่า นี่เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับ "ธุรกิจของการมีลูก" แต่จะเหมาะสมกว่า หากผมจะพูดว่านี่คือ "ตำราเล่มใหญ่" ที่เกาะเกี่ยวร้อยรัด ระหว่างความใฝ่ฝันและแรงปรารถนาต่อ "การมีบุตร" ของมวลมนุษยชาติ
-- นันทขว้าง สิรสุนทร --
บรรณาธิการข่าว "เนชั่นทีวี