"ประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำ (A Brief History of Equality)" ผลงานโดย "โทมัส พิเก็ตตี" ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์, ผู้อำนวยการศูนย์ School of Advanced Studies in the Social Sciences และผู้อำนวยการร่วมห้องปฏิบัติการ World Inequality Lab) เคยสร้างงานสั่นสะเทือนสังคมอย่าง "ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21" (Capital in the Twenty-First Century) (2013) ที่อธิบายกลไกการสะสมและการเปลี่ยนแปลงของทุน และ Capital and Ideology (2019) อธิบายบทบาทของอุดมการณ์ที่ผลิตจากสังคมที่แตกต่างจะส่งผลต่อการก่อร่างสร้างการสะสมทุนและความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างไร อย่างไรก็ตามงานดังกล่าวก็มีข้อเสนอเกริ่นนำเพียงเล็กน้อยในการหาทางออกของความเหลื่อมล้ำของทุนนิยมในศตวรรษที่ 21
"ประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำ" คือส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจากงานเก่าอย่าง Capital and Ideology (2019) โดยกล่าวถึงความสำคัญของแนวคิดอุดมการณ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับความเหลื่อมล้ำ อุดมการณ์ในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกันตามค่านิยมสังคม ประวัติศาสตร์สังคม ซึ่งอุดมการณ์จะเป็นตัวครอบงำความคิดและพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมว่า ลักษณะแบบใดเป็นเรื่องยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม อุดมการณ์เป็นสิ่งที่แปรผันไปตามสภาพแวดล้อมและกาลเวลา และสร้างมายาคติว่าความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งธรรมชาติและถูกต้องแล้ว
อีกทั้งยังเสนอทางออกจากความเหลื่อมล้ำของระบอบทุนนิยม โดยพิเก็ตตีเคยให้สัมภาษณ์ว่า Capital in the Twenty-First Century จะเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่เขาจะใช้กรอบของตะวันตกเป็นศูนย์กลางในการเขียน ที่ใช้กระบวนการวิจัย ทฤษฎี รวมถึงข้อมูลจากมุมมองของการสะสมองค์ความรู้แบบตะวันตก ดังนั้นในประวัติย่อของความเหลื่อมล้ำเล่มนี้เขาได้ทลายกรอบมุมมองดังกล่าวแล้ว รวมถึงยังทลายมายาคติที่ว่า "ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์" เพราะสำหรับพิเก็ตตีแล้วความเหลื่อมล้ำเป็น "ผลผลิตร่วมของ ประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคม" ที่ทุกคนในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
บทนำ
1. การเคลื่อนไหวสู่ความเท่าเทียม หลักหมุดแรก
2. การกระจายอำนาจและทรัพย์สินอันล่าช้า
3. มรดกแห่งระบบทาสและลัทธิอาณานิคม
4. ประเด็นเรื่องค่าสินไหมทดแทน
5. การปฏิวัติ สถานภาพ และชนชั้น
6. "การแบ่งสันปันส่วนอันยิ่งใหญ่ครั้งใหม่" ระหว่างปี 1914 ถึง 1980
7. ประชาธิปไตย สังคมนิยม และการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า
8. ความเท่าเทียมแท้ vs. การเลือกปฏิบัติ
9. หนทางหลุดพ้นลัทธิอาณานิคมใหม่
10. เคลื่อนสู่สังคมนิยมเชิงประชาธิปไตย นิเวศวิทยา และพหุวัฒนธรรม