"การสังเกต" เป็นจุดเริ่มต้นของ "การหาความรู้" สิ่งมีชีวิตทุกประเภทที่จะเติบโตหรือใช้ชีวิตต่อไปได้ต้องผ่านการสังเกตและสำรวจตรวจสอบสิ่งที่น่าสนใจ น่าสงสัยใคร่รู้ การสังเกตไม่อาจจะงอกงามและงอกเงยได้เลย ถ้าสังเกตแล้วไม่นำสิ่งนั้นมาตั้งคำถาม อภิปรายในวงกว้าง เพราะสิ่งที่เราสังเกตอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงหลายๆ เรื่องในสังคมได้เช่นกัน เมื่อเราสังเกตก็หมายความว่าเราใช้สายตามองสิ่งนั้นมากเป็นพิเศษ ไ่ม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นอย่างที่เห็น โดยเฉพาะในสังคมที่ถูกฉาบเคลือบด้วยสารพัดสิ่งจนบดบังเรื่องที่ควรมองหรือน่าสังเกตไปอย่างน่าเสียดาย สารพัดสิ่งที่ว่านั้นก็มีตั้งแต่ความไม่รู้ อคติ ความเพิกเฉย ความอ่อนแอ การไม่ยอมรับความจริง ความสุขสบาย ความยากลำบาก เราจึงมองเห็นเพียงบางสิ่ง และมองไม่เห็นในอีกหลายๆ สิ่ง
ในด้านสังคม...หลายปีที่ผ่านมาสังคมได้เรียนรู้มากมายเหลือเกินจากความคิดความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย บางเรื่องมีคำตอบ บางเรื่องคำตอบยังล่องลอยอยู่ในสายลม ซึ่งรอเพียงเวลาที่เหมาะสมก็อาจได้คำตอบที่น่าชื่นใจร่วมกัน ในด้านการใช้ชีวิต...เราก็ได้เรียนรู้มากมายเหลือเกินจากผู้ที่สังเกตความเป็นไปของชีวิตแล้วนำมาตั้งคำถาม กระตุกความคิดให้เรามองชีวิตในแง่มุมที่ต่างจากเดิม!
- สัญญา คุณากร
- สราวุฒิ มาตรทอง
- พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
- เทพชัย หย่อง
- วรกร จาติกวณิช
- เจษฎาภรณ์ ผลดี
- พระไพศาล วิสาโล
- ลักขณา ปันวิชัย
- พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
- รศ. ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ฯลฯ