ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกชนหรือชุมชน มนุษย์ก็มิได้สยบยอมต่อความทรงจำกระแสหลักอย่างเชื่องเชื่อ หากแต่อาศัยวิธีการต่างๆ ดิ้นรนต่อสู้เพื่ออิสระในพื้นที่การเมืองแห่งความทรงจำอย่างสร้างสรรค์ น่าอัจศจรรย์ และเพราะเช่นนี้ "ถังแดง : การซ่อมสร้างประวัติศาสตร์และความทรงจำหลอนในสังคมไทย" จึงสำคัญยิ่งต่อการครุ่นคิดถึงอนาคตของสังคมไทย ที่จะอย่างไรก็ต้องย่ำเดินไปบนร่องรอยแห่งความรุนแรงในอดีต
1. แนวคิดว่าด้วยความทรงจำและเรื่องเล่า
2. บริบทความขัดแย้งและความรุนแรงในอดีต สู่การก่อรูปของความทรงจำ
3. เรื่องเล่าถังแดงกับความทรงจำ "ร่วม" ของชุมชน
4. ถังแดง ความรุนแรงและความทรงจำของบุคคล
5. บทสรุป
"ถังแดง" เริ่มต้นจากความสงสัยสำคัญของผู้เขียน ว่าเรื่องราวที่คนของรัฐฆ่าฟันผู้คนชาวบ้านที่รัฐเห็นเป็นฝ่ายตรงข้ามอย่าทางรุณ ปรากฎตัวในรูปความทรงจำโดยที่ไม่ทำให้ฝ่ายรัฐอึดอัดตะขิดตะขวงกับพฤติกรรมความโหดร้ายของฝ่ายตนต่อประชาชนได้อย่างไร? จุฬารัตน์ อาศัยแนวคิดเรื่องเล่าเป็นเครื่องพิเคราะห์การดำรงอยู่แสนประหลาดของความทรงจำถังแดง ทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ในบริบททางสังคมประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ทั้งคำถาม ที่ตั้ง ข้อมูลที่เก็บ และทฤษฎีที่ใช้แสดงให้เห็นคุณค่าทางวิชาการของงานชิ้นนี้อย่างน่าชื่นชม
-- ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ --
เมื่อการทำลายล้างชีวิตในลักษณะเดียวกัน มีเกิดขึ้นในที่อื่น ๆ กรณี "ถังแดง" จึงเป็นกรณีให้นำไปเปรียบเทียบได้กับกรณีอื่น ๆ ทั้งในต่างประเทศและในบ้านเราเองในช่วงเวลาอื่น ๆ ผู้เขียนคำนิยมนี้ รู้สึกร่วมกับผู้เขียน (จุฬารัตน์) ที่ "ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งเศร้ามาก เกิดเป็นความรู้สึกซึมเศร้าได้ ยิ่งอ่านย้อนไปกรณีร้าย ๆ อย่างกรณีโยนระเบิดใส่กลุ่มผู้ประท้วงที่แม่เลียง ลำปาง ที่พังงา ที่ปัตตานี เหตุการณ์ถังแดงที่พัทลุง การตามไล่ฆ่าหัวหน้า แรงงาน ผู้นำแรงงาน ผู้นำกลุ่มชาวนาทางภาคเหนือและภาคอีสาน การฆ่านักศึกษาธรรมศาสตร์หกตุกลา..."
-- ไชยันต์ รัชชกูล --
คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์