งานวิจัยนี้ต้องการชี้ชวนให้วิชารัฐศาสตร์หันมาสนใจและให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสุนทรียศาสตร์กับการเมืองเพิ่มมากขึ้น เพราะอาจเป็นมรรควิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมไทยที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในอดีตที่ผ่านมาวิชารัฐศาสตร์ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของศีลธรรมและจริยธรรมอย่างมากจนมองข้ามเรื่องของสุนทรียศาสตร์ ทั้งๆ ที่ในความจริงแล้ว ทั้งศีลธรรมและจริยธรรมต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ ในความหมายที่เป็นกลไกในการแบ่งแยกการรับรู้ของคนในสังคม ว่าอะไรคือสิ่งที่ยอมรับได้ ทำได้ พูดได้ หรือมองเห็นได้ หลากหลายเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับคุณได้เป็นอย่างดี
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ฌาคส์ ร็องซีแยร์กับความคิดเรื่องสุนทรียศาสตร์และการเมือง
บทที่ 3 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
บทที่ 4 สุนทรียศาสตร์กับการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
บทที่ 5 ระบอบทักษิณ: การเมืองของสุนทรียศาสตร์ภาคประชาชน
บทที่ 6 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 กับการแบ่งแยกการรับรู้ทางการเมืองของประชาชน
บทที่ 7 การเลือกตั้งกับการแบ่งแยกการรับรู้ทางการเมืองของประชาชน
บทที่ 8 บทสรุป