หนังสือเล่มนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกับพุทธศาสนาในยุคที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและความสลับซับซ้อน นอกจากนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา พระพุทธศาสนาในแบบต่างๆ แล้ว ยังมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งด้านสังคมวิทยาและปรากฏการณ์วิทยาอีกด้วย
บทที่ 1 บทนำ : ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
บทที่ 2 ลักษณะและปรากฏการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
บทที่ 3 พระพุทธศาสนาแบบจารีตนิยม (Normative Buddhism)
บทที่ 4 พระพุทธศาสนาแบบปัญญานิยม (Intellectual Buddhism)
บทที่ 5 พระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม (Socially Engaged Buddhism or Engaged Buddhism)
บทที่ 6 พระพุทธศาสนาแบบประชานิยม (Popular Buddhism)
บทที่ 7 พระพุทธศาสนาแบบมหายาน (Mahayana Buddhism)
บทที่ 8 พระพุทธศาสนานอกแนวจารีต (Unorthodoxed Buddhism)
บทที่ 9 บทสรุป : เอกภาพในความหลากหลายของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
"พระพุทธศาสนาในประเทศไทย : เอกภาพในความหลากหลาย" เป็นเสมือนหน้าต่างที่เปิดให้ผู้อ่านเห็นโลกแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยได้กว้างขึ้น เป็นพื้นฐานที่ดีในการทำความเข้าใจความเป็นจริงของพระพุทธศาสนาไทยซึ่งไม่ได้เป็นเอกภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นพุทธศาสนาในไทยอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเชื่อ และการเมือง อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความแตกต่างที่สำคัญของพุทธศาสนาแต่ละแนว อาทิ ทัศนะเกี่ยวกับความจริงและความดี การประพฤติปฏิบัติและศิลปะ รวมทั้งมีการวิเคราะห์ถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละแนว
-- พระไพศาล วิสาโล --