รูปภาพสินค้า รหัส9786163140425
9786163140425
นำเสนอสาระ ประเด็น ขอบเขตความสนใจและมโนทัศน์พื้นฐานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจทั่วไป และเพื่อใช้เป็นตำราพื้นฐานประกอบการเรียนสำหรับนักศึกษาในวิชามนุษย์กับสังคม มานุษยวิทยาเบื้องต้น
ผู้เขียนยศ สันตสมบัติ, ศ.ดร.

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 290.00 บาท
ราคาสุทธิ 290.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786163140425
จำนวน: 396 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 186 x 261 x 18 มม.
น้ำหนัก: 705 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: ธรรมศาสตร์, สนพ. ม. 
เดือนปีที่พิมพ์: 1 / 2537
พิมพ์ครั้งล่าสุด:ครั้งที่ 4 เดือน 7 ปี 2013
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือเล่มนี้เ็ป็นหนังสือตำราที่ได้รับรางวัลชั้นดีมากจากโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนได้พยายามนำเสนอสาระ ประเด็น ขอบเขตความสนใจและมโนทัศน์พื้นฐานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจทั่วไป และเพื่อใช้เป็นตำราพื้นฐานประกอบการเรียนสำหรับนักศึกษาในวิชามนุษย์กับสังคม มานุษยวิทยาเบื้องต้น และวัฒนธรรมเปรียบเทียบ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ทุกแห่งหนทั่วโลก มีคุณค่าและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน มนุษย์จึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิถีชีวิตของผู้อื่นด้วยความเคารพ การศึกษาด้านวัฒนธรรมเป็นเสมือน "กระจกเงา" ส่องมนุษย์ ทำให้เราหันมาสำรวจและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง จากการศึกษาวิถีชีวิตของผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาทางด้านวัฒนธรรมยังมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้เรามีความเข้าใจในวิถีชีวิตของสังคมวัุฒนธรรมอื่น ความเข้าใจนี้จะนำมาซึ่งความชื่นชมและเคารพซึ่งกันและกัน อันเป็นบ่อเกิดของเอกภาพและความหลากหลายและการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติ
:: สารบัญ
บทที่ 1 มานุษยวิทยากับการศึกษาวัฒนธรรม
บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม
บทที่ 3 มนุษย์กับอาหาร
บทที่ 4 ระบบเศรษฐกิจ
บทที่ 5 การแต่งงาน ครอบครัว และระบบเครือญาติ
บทที่ 6 อัตลักษณ์และความเป็นชาติพันธุ์
บทที่ 7 การแบ่งแยกทางเพศ
บทที่ 8 องค์กรสังคมและการเมือง
บทที่ 9 วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ
บทที่ 10 มนุษย์กับศาสนา
บทที่ 11 มนุษย์กับศิลปะ
บทที่ 12 วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 13 ความทันสมัยกับมายาคติของการพัฒนา
บทที่ 14 มานุษยวิทยาประยุกต์
:: ข้อมูลพิเศษ
หนังสือตำราที่ได้รับรางวัลโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2536 และรางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย (TTF Award) พ.ศ. 2542