"BIG DATA ดัดจริต (Everybody Lies)" เล่มนี้ กล่าวถึงวิถีในการศึกษาจิตใจรูปแบบใหม่ โดยใช้ "Big Data" ที่มาจากข้อมูลพฤติกรรมการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต และการตอบแบบสอบถามทางออนไลน์เป็นหลัก ถึงแม้เครื่องมือนี้จะไม่ได้แม่นยำระดับที่สามารถอ่านจิตมนุษย์ได้ แต่ผู้แต่ง "เซท สตีเฟน-เดวิโดวิตซ์" ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีในการใช้เครื่องมือธรรมดาเหล่านี้ ในการเจาะเข้าไปดูจิตของผู้คนได้อย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน!
ภาค 1 : ข้อมูลใหญ่และข้อมูลเล็ก
1 สัญชาตญาณที่หลอกลวง
ภาค 2 : Big Data นั้นสำคัญไฉน
2 เราจะเชื่อฟรอยด์ได้มั้ย
3 มาปรับทัศนคติเรื่อง Data กันหน่อย
4 ยาสารภาพความจริง
5 เจาะให้ลึกลงไปอีก
6 โลกทั้งใบคือแล็บ
ภาค 3 : โปรดใช้ Big Data ด้วยความระมัดระวัง
7 ข้อมูลยิ่ง Big ขยะก็ยิ่งเยอะ ว่าด้วยจุดบอด ของ Big Data
8 ข้อมูลเยอะ ปัญหาก็แยะ กับบางเรื่องที่ไม่ควรทำ
บทสรุป จะอ่านมาถึงตรงนี้ซักกี่คนนะ
เวลาที่มนุษย์อยู่หน้าคีย์บอร์ด จะกล้าทำอะไรแปลกๆ บางครั้งก็ทำไปโดยรู้ดีว่าจะเจอกับผลลัพธ์อะไร (อย่างการใช้เว็บหาคู่ หรือปรึกษาเรื่องงาน) แต่นอกนั้นแล้ว ที่พวกเขากล้าเพราะรู้ดีว่ามันไม่มีผลอะไรกับชีวิตจริงในโลกเสมือน ทุกคนจะรู้สึกปลอดภัยจากความอยากและความกลัวที่มักจะเกิดขึ้นในยามคุยกับมนุษย์แบบเจอหน้า แต่มนุษย์ก็ไม่ได้เคาะคีย์บอร์ดหรือคลิกเมาส์อย่างไร้จิตสำนึก พวกเขาพิมพ์ตัวอักษรนับได้ล้าน ๆ ตัวก็เพื่อปลดปล่อยความคิดของตนออกมาในจำนวนที่มากมายดั่งหยดน้ำในมหาสมุทร เท่ากับว่าพวกเขากำลังทิ้งร่องรอยบนโลกดิจิทัลไว้อย่างชัดเจน จนง่ายต่อการสืบเสาะ และนำมาวิเคราะห์ต่อ
มันเป็นข้อมูลที่มาจากวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกรูปแบบ สามารถนำไปตอบคำถามที่สำคัญของมนุษย์ได้แทบทุกข้อ โดยใช้วิธีกระตุ้นผู้ถูกทดสอบและเก็บข้อมูลตอบกลับผ่านโจทย์ในการวิจัยที่หลากหลาย ที่สำคัญ เจ้าของข้อมูลก็เต็มใจแบ่งปันข้อมูลกลับมาในปริมาณระดับมโหระทึก หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่แค่การทดสอบไอเดีย หรือนำเสนอสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แต่นี่คือหนังสือที่เขย่าความเชื่อของผมที่เกี่ยวกับประเทศและเผ่าพันธุ์ของเราจนกลับหัวกลับหางไปหมด
-- Steven Pinker (สตีเฟน พินเกอร์) --