รูปภาพสินค้า รหัส9786160832170
9786160832170
เทคโนโลยีด้านการศึกษารูปแบบใหม่ พร้อมเทคนิคและกลยุทธ์ที่นำไปใช้ได้จริง!
ผู้เขียนศยามน อินสะอาด, ผศ.ดร.

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 250.00 บาท
ราคาสุทธิ 250.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786160832170
จำนวน: 272 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 170 x 220 x 14 มม.
น้ำหนัก: 435 กรัม
เนื้อในพิมพ์: สี่สีในเล่ม 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ. 
เดือนปีที่พิมพ์: 7 / 2561
พิมพ์ครั้งล่าสุด:ครั้งที่ 1 เดือน 7 ปี 2018
:: เนื้อหาโดยสังเขป
"การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง" เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นจากมุมมองและประสบการณ์ในการทำงานด้านการวิจัยและการผลิตสื่อบทเรียนอิเลิร์นนิงของผู้เขียน มุ่งเน้นการออกแบบบทเรียนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะทางปัญญาได้อย่างลึกซึ้ง และเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถส่งเสริมการคิดขั้นสูง และการสร้างความรู้ด้วยตนเองตามทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีเนื้อหาและตัวอย่างที่สำคัญในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลิร์นนิง หลักการทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการออกแบบการสอน แนวคิดการออกแบบอีเลิร์นนิงแบบกลยุทธ์การสอน และการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง หลักการออกแบบหน้าจอบทเรียน โปรแกรมสำหรับพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง การประเมินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงในอนาคต

เหมาะสำหรับครู อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาที่สนใจทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ นักออกแบบสื่อการศึกษา และผู้สนใจพัฒนาสื่อการศึกษา
:: สารบัญ
Chapter 01 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอีเลิร์นนิง
Chapter 02 : บทเรียนอีเลิร์นนิง
Chapter 03 : หลักการทฤษฎีการเรียนรู้ในการออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิง
Chapter 04 : หลักการออกแบบการสอนสำหรับบทเรียนอีเลิร์นนิง
Chapter 05 : บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบกลยุทธ์การสอน
Chapter 06 : บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
Chapter 07 : อีเลิร์นนิงกับการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง
Chapter 08 : หลักการออกแบบหน้าจอบทเรียนอีเลิร์นนิง
Chapter 09 : โปรแกรมสำหรับพัฒนาอีเลิร์นนิง
Chapter 10 : การประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิง
Chapter 11 : งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนอีเลิร์นนิงที่พัฒนาทักษะการคิด
Chapter 12 : แนวโน้มการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงในอนาคต
:: คำนิยม
หนังสือเล่มนี้ ฉายภาพให้เห็นเส้นทางในการปฏิรูปอี้ลิร์นนิง (E-Learning Revolution) การปรับกระบวนทัศน์ การจัดการเรียนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี การออกแบบการสอน (Instructional Design) ไปสู่การออกแบบการเรียน (Learning Design) ที่ผสมผสานการกำหนดเงื่อนไขการสร้างสิ่งแวดล้อม และการเตรียมพร้อมให้เกิดการเชื่อมโยงและต่อยอด ที่สนับสนุนผู้เรียนที่มีความแตกต่าง หลากหลาย ในการพัฒนาทักษะความคิดที่ข้ามพ้นการเรียนเพื่อรู้เนื้อหาสาระ แต่เป็นการเรียนที่รู้วิธีเรียน เรียนที่ฝึกวิชาคิด เรียนอย่างรอบรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง "อีเลิร์นนิง จึงไม่มีวันหยุดนิ่ง"
-- รองศาสตราจารย์ ดร. ใจทิพย์ ณ สงขลา --
หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย