หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปพบกับ เรื่องราวความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของชนชั้นปกครองในไทย ระหว่างกษัตริย์กับตระกูลขุนนาง ที่มีสตรีเป็นตัวกลางของความสัมพันธ์ในการถ่ายเทอำนาจซึ่งกันและกันของชนชั้นปกครอง ทั้งยังเผยให้เห็นถึงชีวิตของสตรีในราชสำนัก ไม่ว่าจะมีฐานนะเป็นลูกสาว หลานสาว เป็นเมีย หรือเป็นแม่ก็ตาม นางในเหล่านี้มีบทบาทส่วนตัว หรือบทบาทต่อสังคมอย่างไร? ชีวิตของนางในในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างไรบ้าง? พบกับคำตอบได้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นงานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่ายิ่งแก่การศึกษา
- สังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2411-2453
- ภูมิหลังและสถานภาพของสตรีในสังคมไทย
- โครงสร้างของสมาชิกฝ่ายใน ในราชสำนักรัชกาลที่ 5
- นางใน ในฐานะสื่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้นนำกับกษัตริย์
- สถานภาพ พฤติกรรม และสัญลักษณ์ในวิถีชีวิตของนางใน