การก่อสร้างในประเทศได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว สามารถทำการก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นและห้องใต้ดินลึกมาก ๆ ได้ มีการใช้เทคนิคและอุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบครัน แต่สิ่งที่ยังบกพร่องอยู่มากก็คือการป้องกันอันตรายต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างได้ดีขึ้นกว่าเก่าพอสมควร โดยเฉพาะกับอาคารสูง จะเห็นว่ามีการหุ้มอาคารที่กำลังก่อสร้างอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันของและคนตกมีการใช้ปั้นจั่นชนิดมีแขนเดี่ยว และการแต่งกายของคนงานก็รัดกุมขึ้น มีการสวมหมวกแข็งแรงและรองเท้าหุ้มส้นกันมากขึ้น แต่มาตรการในการป้องกันอันตรายดังกล่าวก็ยังไม่สมบูรณ์ และใช้กันเพียงบางงานเท่านั้น บางงานแทบจะไม่มีการป้องกันเลย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง "ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง" ได้กำหนดมาตรฐานการป้องกันอันตรายนับแต่บุคคล นั่งร้าน และลิฟท์ขนของ เป็นต้น แม้ว่าเป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามแต่ก็ยังมีผู้ละเลยกันมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างอย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นเสมอ ทั้งที่ควรจะป้องกันได้หากปฏิบัติตามกฎหมาย เคยมีผู้ประมาณการสูญเสียชีวิตอันเนื่องมาจากก่อสร้างว่าจะมีคนตายหนึ่งคนทุกๆ มูลค่าของการก่อสร้าง 80 ล้านบาท จึงควรที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย นับตั้งแต่เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบ และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะต้องตระหนักและเข้มงวดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการก่อสร้างให้มาก
ู่
บทที่ 1 การเตรียมงานก่อสร้างในด้านความปลอดภัย
บทที่ 2 อันตรายจากงานตอกเสาเข็ม
บทที่ 3 อันตรายจากการทำรูเจาะขนาดใหญ่
บทที่ 4 อันตรายจากปั้นจั่นสำหรับยกของ
บทที่ 5 อันตรายจากรถขุดดิน รถแทรคเตอร์ และเครื่องจักรกลอื่นๆ
บทที่ 6 นั่งร้าน และค้ำยัน
บทที่ 7 อันตรายจากของตก
บทที่ 8 คนตกจากที่สูง
บทที่ 9 อันตรายจากไฟฟ้า
บทที่ 10 อันตรายจากไฟ้ไหม้
บทที่ 11 อันตรายจากการก่อสร้างผิดวิธีและหลักวิชา
บทที่ 12 อันตรายจากความประมาท
บทที่ 13 อันตรายจากการขนส่งวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้าง
บทที่ 14 อันตรายที่มักเกิดขึ้นหลังจากงานโครงสร้าง
บทที่ 15 หน่วยปฐมพยาบาลและหน่วนฉุกเฉิน
บทที่ 16 สวัสดิการแก่คนงานและความสะอาด
บทที่ 17 การประกัน
บทที่ 18 สถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง
ตัวอย่างสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้างอาคาร
บทที่ 19บทสรุป
ภาคผนวก
ข้อปฏิบัติของ ว.ส.ท. และประกาศกระทรวงมหาดไทย
บรรณานุกรม