ความแปลกใหม่ของนิทานเรื่องนี้อยู่ที่การนำเอาข้อมูลนิเวศน์ของป่าชายเลนมาเล่าผ่านนิทานอย่างสนุกสนานโดยแสดงให้เห็นชีวิตหลังจากที่ป่าชายเลนได้รับการอนุรักษ์แล้ว ผู้เขียนสะท้อนภาพชีวิตสองแบบที่ทำให้เห็นภาพตรงกันข้ามได้อย่างมีสีสัน กล่าวคือต้นไม้เป็นภาพแทนของคนรุ่นเก่าสื่อด้วยการอยู่กับที่แสดงความยืนยาวและความยิ่งใหญ่ เช่น ต้นปู่ทวดโกงกาง ต้นตะบูนเฒ่า ในขณะที่สัตว์เป็นภาพแทนของคนรุ่นใหม่ สื่อถึงความเคลื่อนไหวและความรื่นรมย์ เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียง เช่น กุ้งดีดขัน ลิงแสม ปูก้ามดาบ ฯลฯ แม้มีเรื่องราวน้อย แต่มีภาพป่าชายเลนและสัมผัสอารมณ์รื่นเริงของสรรพชีวิตได้