หนังสือเล่มนี้ "เล่า" เรื่องของคนไทยกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ที่กล้าที่จะฝันและกล้าที่จะลงมือทำฝันนั้นให้เป็นจริง ฝันที่อยากเห็นเมืองไทยมีห้องแล็บวิจัยที่ทันสมัยสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้และเทคโนโลยี ฝันอยากเห็นห้องแล็บที่ใช้เป็นสนามสำหรับฝึกวิทยายุทธ์ของคนรุ่นเดียวกันและลูกหลายในอนาคต เพื่อประกาศศักดิ์ศรีว่าคนไทยมิได้น้อยหน้าชนชาติใด ๆ ในโลก
หนังสือที่ถูกถ่ายทอดประสบการณ์จาก ศ. เกียรติคุณ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง จากการรวบรวมประสบการณ์วิชาการทั่วโลกโดยใช้จานเป็นตัวนำเรื่องราว สอดแทรก เนื้อหาการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องวิชา ฟิสิกส์ และยังถ่ายทอดถึงสถานที่ท่องเที่ยวรวมทั้งของที่ระลึกประจำเมืองเด่นๆ โดยใช้จานเป็นการนำเรื่องราวนั้นๆ พร้อมภาพประกอบอย่างสวยงาม
- คำนำ
- คำนิยม
- ประวัติย่อ
- เคียฟ
- บูดาเพสต์
- เดรสเดน
- เลนินกราด
- ก็อตเทนเบอร์ก
- ลอนดอน
- บราวน์ชไวก์
ฯลฯ
หนังสือ "มองผ่านจาน" ไม่ใช่หนังสือธรรมดา หากเป็นหนังสือเล่มแรกที่บันทึกการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตย์ไทยภายใต้ความขัดสน และต้องเริ่มต้นด้วยงบประมาณอันจำกัด ผิดกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ ผมอยากแนะนำให้เด็ก ๆ ที่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เวลานี้ ดร.ถิรพัฒน์ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้ในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เช่น ข้าวมะลิสีนิลพันธุ์ใหม่ ดอกเยียเบร่าสองสี เป็นต้น ผมดีใจที่หนังสือ "มองผ่านจาน" ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นนับเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่น่าอ่าน และทุกโรงเรียนควรมีไว้ในห้องสมุด
ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช