รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9789749569023
จำนวน: 172 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 185 x 232 x 10 มม.
น้ำหนัก: 400 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: -ไม่ระบุ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), สนพ. สมาคม 
เดือนปีที่พิมพ์: 10 / 2545
พิมพ์ครั้งล่าสุด:ครั้งที่ 1 เดือน 10 ปี 2002
:: เนื้อหาโดยสังเขป
วิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) คือกระบวนการผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ต้นแบบอย่างเป็นระบบ
หนังสือเล่มนี้เจาะลึกเบื้องหลังการทำวิศวกรรมย้อนรอยชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ็โลหะ โดยให้ภาพรวมของการทำวิศวกรรมย้อนรอย รวมทั้งรายละเอียดและกรณีศึกษา ในประเด็นสำคัญต่างๆ ต่อไปนี้
-การย้อนรอยรูปร่างต้นแบบ
-แง่มุมทางโลหะวิทยาในการทำวิศวกรรมย้อนรอย
-การหาคุณลักษณะด้านกรรมวิธีทางความร้อน
-การย้อนรอยส่วนผสมทางเคมีและโครงสร้างจุลภาค
-กระบวนการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
-การขึ้นรูปด้วยการกัดแต่ง
-กรณีศึกษาในการผลิต
-การทดสอบแบบไม่ทำลาย
-การวิเคราะห์ความเสียหาย
นอกจากนี้ ยังมีภาคผนวกเกี่ยวกับประเด็นทางวิศวกรรมที่เป็นประโยชน์ในการทำวิศวกรรมย้อนรอย ได้แก่
-ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานวิศวกรรม
-การใช้ตารางเปรียบเทียบมารตฐานทางโลหะ
:: สารบัญ
บทที่ 1 ภาพรวมของวิศวกรรมย้อนรอย
บทที่ 2การย้อนรูปร่างต้นแบบโดยการอ่านแบบ
บทที่ 3 แง่มุมทางโลหะวิทยาบางประการในการทำวิศวกรรมย้อนรอย
บทที่ 4 การใช้วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับหาคุณลักษณะด้านกรรมวิธีทางความร้อนของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
บทที่ 5 การย้อนรอยส่วนผสมทางเคมีและโครงสร้างจุลภาค
บทที่ 6 กระบวนการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
บทที่ 7 กรรมวิธีการกัดแต่งชิ้นงานด้วยเครื่องจักร
บทที่ 8 ตัวอย่างกรรมวิธีการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่
บทที่ 9 การทดสอบแบบไม่ทำลาย
บทที่ 10 แง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และการป้องกันความเสียหาย
:: คำนิยม
ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์, ดร.
:: ข้อมูลพิเศษ
Dr.john T.H. Parce
การศึกษา : ปริญญาตรี สาขาโลหะวิทยา(เกียรตินิยมอันดับ 1 ) มหาวิทยาลัยแอสตัน ประเทศอังกฤษ
ปัจจุบัน : ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโลหะ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.สมนึก วัฒนศรียกุล
การศึกษา : ปริญญาโทวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประกาศนียบัตร Welding Engineering, SLV-Hannover,Germany และ
ประกาศนียบัตร NDT for Engineering, PT&MT Level III,DGZfP, Berlin,Germany
ปัจจุบัน : อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปี 2525 ถึงปัจจุบัน)