สถานภาพโดยทั่วไปของปาล์มถิ่นไทยที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ แต่ละชนิด อยู่ในสภาพที่ลดตำนวนลงโดยลำดับ เนื่องจากพื้นที่ป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดได้ถูกทำลาย มีการนำพื้นที่มาเป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ทำมาหากิน มีการสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ มีการสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัยฯลฯ จนกระทั่งมีการประกาศจากหน่วยงานทางราชการว่า พื้นที่ป่าในประเทศไทยได้ลดจำนวนลงในแต่ละปี จนกระทั่งเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 25 ในปัจจุบัน นอกจากพื้นที่ป่าจะลดลงแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางนิเวศวิทยาของป่า จนแทบจะไม่เหลือสภาพป่าในหลายๆ พื้นที่ ทำให้ปาล์มถิ่นไทยหลายชนิดที่ไม่สามารถรปรับตัวได้ต้องลดจำนวนลง หรือตายไป อย่างไรก็ตาม มีการนำเมล็ดปาล์มถิ่นไทยหลากหลายชนิดออกมาปลูกนอกพื้นที่ถิ่นกำเนิด นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ช่วยให้มีจำนวนต้นมากขึ้น
ปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ (Family) Arecaceae หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Palmae ส่วนใหญ่แล้วจะเจริญเติบโตอยู่ในเขตร้อนของโลก มีอยู่ประมาณ 250 สกุล มากกว่า 3800 ชนิด เฉพาะในเมืองไทยมีปาล์มพื้นเมืองหรือปาล์มถิ่นไทย คือปาล์มที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย 33 สกุล รวม 161 ชนิด ขึ้นกระจายอยู่ทั่วประเทศ
- บทนำ
- ข้อดีเด่นของปาล์มถิ่นไทย
- การเลือกใช้ปาล์มประดับ
- พรรณปาล์มถิ่นไทย
- กะเปา
- กะพ้อเขา
- กะพ้อเขาจันทร์
- กะพ้อแดง
- กระพ้อนกแอ่น
- กะพ้อสี่สิบ
ฯลฯ