ปัญหาทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นจากเงื่อนไของค์ประกอบของสาเหตุต่างๆ ถ้าเราสามารถ "ทำความคิดความเห็นให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุผล" จนรู้วิธีที่จะกระทำ "เหตุ" ได้อย่างถูกฝาถูกตัวและทำอย่างพอเหมาะพอประมาณ "ผล" ที่ตามมาก็ย่อมจะนำไปสู่การคลีคลายของปัญหาทั้งหลาย
เมื่อปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขอย่าง "ถูกต้องเที่ยงตรงตามเหตุและผล" ให้มาก "พอเพียง" จนถึงจุดๆหนึ่งที่เป็นจุดมวลวิกฤติของความเปลี่ยนแปลง "ระบบภูมิคุ้มกันในตัว" ต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมาย ก็จักเกิดขึ้นตามมาโดยอัตโนมัติ
หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามที่จะนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ชุดหนึ่งเพื่อเป็นวิถีทางนำไปสู่การเข้าถึงแก่นสารแห่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยชี้ให้เห็นว่าพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในเรื่องคุณธรรม 4 ประการ ก็คือกรอบแนวทางที่สามารถจะพัฒนาให้เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่วิถีแห่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนได้เสนอกรอบแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงปรัชญา เพื่ออธิบายเปรียบเทียบกับกระบวนทัศน์ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและกระบวนทัศน์ของเศรษฐศาสตร์การมืองสำนักมาร์กซิสม์ สำหรับเป็นจุดเริ่มต้นในการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นระบบความคิดทางวิชาการที่มีเนื้อหาสาระกว้างขวางยิ่งๆขึ้น
บทที่ 1 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทที่ 2 7 ขั้นตอนของการปฏิบัติสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
บทที่ 3 วิถีเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
บทที่ 4 สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
บทที่ 5 การประสานความขัดแย้งในระบบสังคม
บทที่ 6 กระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนา
บทที่ 7 เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส