รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9789745719361
จำนวน: 609 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 145 x 215 x 38 มม.
น้ำหนัก: 795 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: -ไม่ระบุ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: ธรรมศาสตร์, ศูนย์หนังสือ ม. 
เดือนปีที่พิมพ์: 06 / 2548
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นจากวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนเรื่อง"ก่อนจะถึง 14 ตุลาฯ' : ความเคลื่อนไหวทางการเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร(พ.ศ.2506-2516)"ซึ่งเขียนเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.2545 และได้รับคัดเลือกจากคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นของคณะในปีนั้น หลังจากนั้นผู้เขียนได้มีโอกาสนำเสนอเนื้อหาและข้อค้นพบจากวิทยานิพนธ์ในชั้นเรียนและที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการ และเวทีสาธารณะหลายต่อหลายครั้ง บรรดาคำติชม ข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ได้รับจากครูบาอาจารย์ เพื่อนมิตรในวงวิชาการ และผู้เข้าร่วมสัมมนาหลายท่านมีส่วยช่วยทั้งโดยตรงโดยอ้อมต่อการปรับปรุงต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ครั้งนี้ โดยเฉพาะบทนำและบทสรุปที่เขียนขึ้นใหม่ ทั้งเพื่อผนวกข้อถกเถียงใหม่ๆที่เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลังและเพื่อความกระชับและคมชัดทางวิชาการ
:: สารบัญ

สารบัญ

  • มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

  • คำประกาศรางวัล TTF Award สาขาสังคมศาสตร์

  • คำนำเสนอ

  • คำนำผู้เขียน

  • บทที่ 1 สู่การเมืองวัฒนธรรมไทย สมัย 14 ตุลาฯ

  • บทที่ 2 การก่อตัวทางสังคมของนักศึกษาและเครือข่ายวาทกรรมของปัญญาชน

  • บทที่ 3 รัฐบาลทหารกับฒนธรรมสงครามเย็น : สงครามอินโดจีนกับการควบคุมความจริง

  • บทที่ 4 การก่อตัวของกระแสการต่อต้านสงครามเวียดนาม : วาทกรรมจากภายนอก ความคิดประชาธิปไตย และกระแสชาตินิยม

  • บทที่ 5 การรื้อฟื้นวาทกรรมจากอดีต : กษัตริย์ประชาธิปไตย และความคิดสังคมนิยม

  • บทที่ 6 บทสรุป : แบบเรียนการเมืองวัฒนธรรมจาก 14 ตุลาฯจากสงครามวาทกรรมสู่การเมืองบนถนนราชดำเนิน

  • บรรณานุกรม

  • ดรรชนี
  • :: ข้อมูลพิเศษ
    ประจักษ์ ก้องกีรติ
    - ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มีผลงานตีพิมพ์ตามนิตยสาร วารสารวิชาการและหนังสือรวมบทความหลายชิ้น อาทิ "ประวัติศาสตร์ฤามายาคติ : ปัญหาว่าด้วยการเขียนประวัติศาสตร์อินโดนีเซียร่วมสมัย," ศิลปวัฒนธรรม 22 : 7 (พ.ค.43), "86 ปี หนังสือนักศึกษา : ชีวประวัติหนุ่มสาวสยาม ฉบับลายลักษณ์," จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ (มิ.ย.43- พ.ค.44), "สงครามความทรงจำกับปฏิบัติการทางการเมือง : ขบวนการนักศึกษาไทยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา," จุลสารไทยคดีศึกษา (มิ.ย.-ส.ค.45), "24 มิถุนาในขบวนการ 14 ตุลาฯ : การเมืองและอำนาจของประวัติศาสตร์," ในธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ (มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548) ปัจจุบันกำลังรับผิดชอบ เขียนบทนิทรรศการถาวร "ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ" เพื่อใช้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ 14 ตุลา ณ บริเวณสี่แยกคอกวัวที่กำลังก่อสร้างอยู่ นอกจากงานสอนและเขียนหนังสือ ยังเคยเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ รัฐศาสตร์สารและปัจจุบันเป็นบรรณาธิการ จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์