หนังสือเล่มนี้เป็นตำราเพื่อใช้ประกอบการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศระดับปริญญาตรีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื้อหาของตำราประกอบด้วยคำอธิบายเกี่ยวกับบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ ตลาดเงินตราต่างประเทศ ทฤษฎีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆ ระบบการเงินของโลก ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทย และปัญหาการเงินระหว่างประเทศของไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยรวมถึงปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของไทยในปี พ.ศ. 2540 ด้วย ในด้านทฤษฎีนั้น นอกจากจะใช้กรอบการวิเคราะห์แบบเคนส์มันเดลล์-เฟลมมิงแล้ว ตำรานี้ยังครอบคลุมไปถึงการวิเคราะห์ที่อาศัยแนวคิดทางการเงิน (Monetary approach)และแนวคิดทางตลาดสินทรัพย์(asset approach)อีกด้วย
สารบัญ
บทที่ 1 ความสำคัญและความหมายของเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
บทที่ 2 บัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
บทที่ 3 ตลาดเงินตราต่างประเทศ
บทที่ 4 อัตราแลกเปลี่ยนและดุลยภาพในตลาดเงินตราต่างประเทศ
บทที่ 5 รายได้ อัตราแลกเปลี่ยนและดุลบัญชีเดินสะพัด : การวิเคราะห์แบบระยะสั้น
บทที่ 6 การแทรกแซงค่าเงิน และนโยบายการเงินการคลังภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
บทที่ 7 การคาดการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาและอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว
บทที่ 8 รายได้ อัตราแลกเปลี่ยน และบัญชีดุลการชำระเงิน : การวิเคราะห์แบบแนวคิดทางการเงิน
และแนวคิดทางสินทรัพย์
บทที่ 9 ระบบการเงินระหว่างประเทศ
บทที่ 10 การเงินระหว่างประเทศของไทย และปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศ