เนื้อหาของหนังสือเรื่องนี้จำแนกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงความสำคัญของปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ส่วนที่สองกล่าวถึงข้อบกพร่องสำคัญของระบบการบริหารนโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และส่วนที่สามเสนอแนะแนวทางการปฏิรูประบบการ
บริหารนโยบายดังกล่าวนี้ ผู้เขียนเสนอให้ปฏิรูประบบการบริหารนโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยยึดหลักความน่าเชื่อถือ หลักความเป็นอิสระ ฯลฯ และเสนอให้มีองค์กรหลักในการบริหารนโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2 องค์กร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลการรักษาเสถียรภาพของราคา และสำนักงานคณะกรรมการเสถียรภาพเศรษฐกิจแห่งชาติ(สสช.)ซึ่งรับผิดชอบเป้าหมายดุลบัญชีเดินสะพัด และทำหน้าที่ประสานการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคทั้งปวง รวมทั้งเสนอให้จัดทำธรรมนูญทางการคลังและธรรมนูญทางการเงิน ตลอดจนการสร้างกลไกความรับผิดและกลไกการตรวจสอบและติดตามผล
สารบัญ
1. ความเบื้องต้น
2. ความสำคัญของปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 กระบวนการสากลานุวัตรของทุนและเงิน
2.2 ระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
2.3 แนวนโยบายเสรีนิยมทางการเงิน
ฯลฯ
3. การบริหารนโยบายการคลัง
3.1 การบริหารนโยบายงบประมาณรายจ่าย
3.1 (1) กระบวนการงบประมาณ
3.1 (2) การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ฯลฯ
4. การบริหารนโยบายการเงิน
4.1 อำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
4.1 (1) การออกบัตรธนาคาร
4.1 (2) การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล
ฯลฯ
5. การปฏิรูประบบการบริหารนโยบายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
5.1 (1) ความน่าเชื่อถือ
5.1 (2) ความเป็นอิสระ
5.1 (3) ความชัดเจนในการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
ฯลฯ
บรรณานุกรม