หนังสือเล่มนี้อธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของเกาหลีและไทยในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อต้นทศวรรษ 1960 รายได้ต่อหัวของคนไทยสูงกว่าของเกาหลีเล็กน้อย เกาหลีตกอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพิงสหรัฐอเมริกาอย่างมาก การเมืองภายในประเทศเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน แต่ในทศวรรษต่อมา เศรษฐกิจเกาหลีเริ่มไล่ทันเศรษฐกิจไทยและเลยหน้าไทยไปในที่สุด ปัจจุบันสินค้าและบริษัทเกาหลีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในระดับโลกและเกาหลีได้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้า ผู้เขียนได้ใช้ปัจจัยด้านวัฒนธรรม และสถาบันมาอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสถานภาพ และศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศทั้งสอง
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การแทรกแซงของรัฐบาล
บทที่ 3 ชาติและระบบเศรษฐกิจ
บทที่ 4 ชาติและวัฒนธรรม
บทที่ 5 ชาติและประวัติศาสตร์
บทที่ 6 ความเต็มใจในการทำงานและการรับความเสี่ยง
บทที่ 7 อุปสงค์ของการศึกษา
บทที่ 8 ความมีประสิทธิผลของรัฐบาล และผลทางเศรษฐกิจที่ตามมา
บทที่ 9 ตัวกำหนดความมีประสิทธิผลของรัฐบาล
บทที่ 10 ความเป็นผู้นำทางการเมือง
บทที่ 11 ปัก จุง ฮี
บทที่ 12 สรุปสาระสำคัญ
บทที่ 13 นัยของการศึกษา
ปัจฉิมลิขิต
ภาคผนวก
บรรณานุกรม
ผู้เขียน - โยะชิฮะระ คุนิโอะ เป็นศาสตราจารย์ประจำ The Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University มีผลงานเขียนมากมาย อาทิเช่น The Rise of Ersatz Capitalism in Southeast Asia (Oxford University Press, 1988), The nation and Economic Growth: The Philippines and Thailand (Oxford University Press, 1994), Building a Prosperous Southeast Asia: From Ersatz to Echt Capitalism (Curzon,1999), Asia Per Capita: Why National Incomes Differ in East Asia (Curzon,2000)
ผู้แปล - ดร.สุกัญญา นิธังกร รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทจาก Vanderbilt University และปริญญาเอกจาก Southern Methodist University, U.S.A. เคยได้รับเชิญเป็น Visiting Research Fellow ที่ The Center for Southeast Asian Studies มหาวิทยาลัยเกียวโต ปี 1984-5, 1991-2 และ 1999-2000 อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
ผู้แปล - อนงค์ โรจน์วณิชย์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจบปริญญาโทจาก Hitotsubashi University อดีตผู้อำนวยการโครงการปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ (โครงการนานาชาติ)