เป็นหนังสือที่ศึกษาเปรียบเทียบฟิลิปปินส์กับไทยในแนวใหม่ โดยเน้นความสำคัญของผลกระทบของสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สถาบันทางวัฒนธรรม สถาบันทางเครือญาติ และค่านิยมทางการเมือง ที่มีต่อความสามารถในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์และไทยต่างเผชิญกับสถานการณ์และปัญหาที่คล้ายคลึงกันภายหลังสงครามแปซิฟิก ประเทศทั้งสองดำเนินการแตกต่างกันในการกำหนดชะตากรรมของตน ผลที่ปรากฎออกมาเป็นเรื่องราวที่น่าทึ่ง กล่าวคือ ภายหลังสงครามรายได้ต่อหัวของฟิลิปปินส์สูงเป็นสองเท่าของไทย แต่อีกราวห้าสิบปีต่อมาคือในปลายช่วงเวลาที่หนังสือนี้ทำการศึกษาสถานการณ์ได้พลิกผันไปในทางตรงข้าม ในการพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในการตอบสนองต่ออิทธิพลทางเศรษฐกิจของชาวจีน ทัศนคติที่มีต่อการลงทุนของต่างชาติ และวิเคราะห์การแทรกแซงระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของรัฐบาลในทั้งสองประเทศนี้รวมถึงธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารกลาง บทบาทของสถาบันทหาร และให้ความสนใจต่อปัญหาการรักษาความสงบและความมีวินัย ปัญหาเกี่ยวกับการก่อการร้ายของคอมมิวนิสต์ ลัทธิการแบ่งแยกดินแดนของพวกมุสลิม การก่อรัฐประหารของทหาร และอาชญากรรมร้ายแรงทั้งหลาย และลงท้ายด้วยการกล่าวถึงค่านิยมแบบดั้งเดิมของประเทศทั้งสอง
สารบัญ
บทนำ
ส่วนที่ 1 ทุนชาวจีนและทุนต่างชาติ
ชาวจีนและธุรกิจ
การต่อต้านชาวจีนด้วยการเลือกปฏิบัติ
บทบาทของการลงทุนจากต่างประเทศ
ทัศนคติต่อการลงทุนของต่างชาติ
ส่วนที่ 2 การแทรกแซงของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
ทำนุบำรุงตลาดการเงิน
รัฐวิสาหกิจ
การผูกขาดสินค้าเกษตรของรัฐบาล
อุปสรรคทางการค้า
การแทรกแซงของรัฐบาลในการทำงานของกลไกราคา
พื้นฐานที่นำไปสู่การแทรกแซง
ส่วนที่ 3 ความสงบและความมีวินัย
ฯลฯ