หากใครเคยอ่านหนังสือ "จิตวิทยาฝูงชน" แล้วนั้น ก็จะเข้าใจที่มาที่ไปและการเคลื่อนไหวของฝูงชนในแต่ละยุคสมัยได้ดี โดยในหนังสือ "จิตวิทยาการปฏิวัติ" เล่มนี้ ทางด้านผู้เขียน "เลอบง" ได้พาผู้อ่านทุกท่านทำการเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิวัติที่น้อยคนมากที่จะวิเคราะห์ลึกซึ้งได้เฉกเช่นเดียวกับเขาได้ แน่นอนว่าการปฏิวัติในมุมมองของผู้คนส่วนใหญ่นั้น มักจะคิดไปในทางเดียวกันคือ การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหมา ช่วยให้ประเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น แต่ผู้เขียนกลับไม่คิดเช่นนั้น
ผู้เขียนได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิวัติเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ และอาจเป็นคนเดียวที่คิดนอกกระแสต่างไปจากผู้คนส่วนใหญ่ที่ได้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก็คือเขาได้ใช้หลักจิตวิทยาในการวิเคราะห์การปฏิวัติ เพื่อที่จะทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้มากขึ้น ผลงานของเลอบงถือเป็นผลงานที่คู่ควร น่าศึกษา และยังมีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสถานการทางการเมืองในประเทศไทยและประเทศทั่วโลกได้มากขึ้นกว่าเดิม
- เกริ่นนำ : การแก้ไขประวัติศาสตร์
ส่วนที่ 1 องค์ประกอบทางด้านจิตวิทยาที่มีต่อการเคลื่อนไหวในการปฏิวัติ : คุณลักษณะทั่วไปของการปฏิวัติ
ส่วนที่ 2 สภาวะจิตใจแต่ละรูปแบบที่พบได้บ่อย ๆ ในช่วงที่มีการปฏิวัติ
ส่วนที่ 3 การปฏิวัติประเทศฝรั่งเศส : จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติประเทศฝรั่งเศส
ส่วนที่ 4 การใช้เหตุผล, การใช้อารมณ์ความสุข, ความเชื่อลี้ลับ, และอิทธิพลการเคลื่อนไหวของฝูงชนในช่วงที่มีการปฏิวัติ
ส่วนที่ 5 ความขัดแย้งระหว่างอิทธิพลทางความคิดในบรรพบุรุษยุคเก่ากับทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิวัติ
ส่วนที่ 6 วิวัฒนาการทฤษฎีการปฏิวัติที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้
- สรุป