รูปภาพสินค้า รหัส9786169070771
9786169070771
เป็นเรื่องที่คนไทยทั้งชาติจะต้องช่วยกันผลักดันให้มีการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
ผู้เขียนJames Bellanca, ED. (เจมส์ เบลลันกา, บก.), Ron Brandt, ED. (รอน แบรนด์, บก.)
ผู้แปลวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, อธิป จิตตฤกษ์

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 400.00 บาท
ราคาสุทธิ 400.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786169070771
จำนวน: 496 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 142 x 210 x 29 มม.
น้ำหนัก: 510 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: openworlds, สนพ. 
เดือนปีที่พิมพ์: 10 / 2554
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือเล่มนี้สื่อสาระสำคัญยิ่งของการศึกษายุคใหม่ ที่แตกต่างไปจากแนวคิดเดิมๆ โดยสิ้นเชิง นักการศึกษา ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจคุณภาพของการศึกษาทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาไทยออกไปจากความเชื่อหรือวิถีคิดเก่าๆ ให้การเรียนรู้ในสังคมไทยบรรลุการเรียนรู้ทักษะสำหรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้จงได้
:: สารบัญ
- จิตห้าลักษณะสำหรับอนาคต
- นโยบายใหม่ที่สนองความต้องการในศตวรรษที่ 21
- การเปรียบเทียบกรอบความคิดสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- บทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต่อความก้าวหน้าของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- วิสัยทัศน์ของสิงคโปร์ : สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น
- การออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- กรอบความคิดในการนำไปปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- การเรียนรู้จากปัญหา : รากฐานสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- การเรียนรู้แบบร่วมมือและการแก้ไขความขัดแย้ง : ทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21
- การเตรียมนักเรียนให้เชี่ยวชาญทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ฯลฯ
:: คำนิยม
ในฐานะผู้คลั่งไคล้หนังสือเล่มนี้ ผมยิ่งชื่นใจที่ผู้คนในสังคมไทยจะได้มีหนังสือดีๆ ซึ่งสื่อสาระสำคัญยิ่งของการศึกษายุคใหม่ ที่แตกต่างไปจากแนวคิดเดิมๆ โดยสิ้นเชิง..นักการศึกษา ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจคุณภาพของการศึกษาทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาไทยออกไปจากความเชื่อหรือวิธีคิดเก่าๆ ให้การเรียนรู้ในสังคมไทยบรรลุการเรียนรู้ทักษะสำหรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้จงได้
-- ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช --
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล

การปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วย ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ "กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้" และ "ครูมิใช่ผู้มอบความรู้" แต่เป็น "ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน"

เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอินเทอร์เน็ต

หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิมคือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
-- นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ --
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์