- เหตุใดเราจึงเห็นใจวีรชนผู้ต่ำต้อยอย่างโอลิเวอร์ ทวิสต์
- อะไรคือเบื้องหลังอัจฉริยภาพของเชกสเปียร์ที่เล่นกับจิตวิทยาของมนุษย์
- การวางโครงเรื่องห้าองก์ใน The Godfather ทรงประสิทธิภาพอย่างไร
- ทำไมบทสารภาพรักสุดคลาสสิกใน Notting Hill จึงติดตรึงใจคนทั่วโลก
เรื่องเล่าอยู่คู่กับมนุษย์เรามาหลายชั่วคน เราตื่นตาเมื่อฟังตำนานปรัมปรา เสพติดเรื่องซุบซิบคนดัง ตื่นเต้นกับนิยายสุดเข้มข้น หรือตื้นตันยามเห็นฉากหวานซึ้งบนจอภาพยนตร์ แต่ใครเลยจะรู้ว่าเบื้องหลังมนตร์ขลังของเรื่องเล่าอันตรึงใจนั้นมีวิทยาศาสตร์ซ่อนอยู่!
"วิล สตอร์" นักเขียนและนักเล่าเรื่องมากประสบการณ์ สกัดแก่นความรู้จากหลักสูตรพัฒนาการเล่าเรื่อง ผสมผสานกับข้อค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา ก่อเกิดเป็น "ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง" เพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวที่จับใจคน พร้อมเคล็ดลับฉบับเข้าใจง่ายที่ประยุกต์ใช้ได้จริง เช่น การสร้างโลกสมมติใบใหม่ผ่านแบบจำลองในสมอง การใช้ "ช่องว่างของข้อมูล" กระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ การสร้างตัวละครผ่านแนวคิด "ตัวเอกทุกคนคือตัวร้าย" ฯลฯ
หากโลกที่เรารับรู้คือเรื่องเล่าที่สมองปรุงแต่งให้ กุญแจสู่เรื่องเล่าที่ตรึงใจย่อมซ่อนอยู่ในกลไกสมอง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียนนิยาย บทละคร สารคดี หรือคนทำงานสื่อสารที่ต้องการเล่าเรื่องให้จับใจ นี่คือบทเรียนชั้นดีที่กลั่นกรองจากสมองนักเล่าเรื่อง เพื่อรังสรรค์เรื่องเล่าที่ร่ายมนตร์สะกดให้มนุษย์หลงใหลไม่เคยเสื่อมคลาย
บทที่หนึ่ง : รังสรรค์ปั้นโลก
1.0 เรื่องราวเริ่มต้นที่ใด
1.1 ช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง : สมองที่แสวงหาการควบคุม
1.2 สงสัยใคร่รู้
ฯลฯ
บทที่สอง : ตัวตนอันบกพร่อง
2.0 ตัวตนอันบกพร่อง : ทฤษฎีการควบคุม
2.1 บุคลิกภาพกับโครงเรื่อง
2.2 บุคลิกภาพกับฉากท้องเรื่อง
ฯลฯ
บทที่สาม : ปมเรื่องสำคัญ
3.0 ความทรงจำที่ผิดพลาดกับตัวละครที่หลงผิด : ปมปัญหาของเรื่อง
3.1 ตัวตนอันหลายหลาก : ตัวละครสามมิติ
3.2 เรื่องเล่าสองระดับ : การสร้างเรื่องราวจากปัญหา
ฯลฯ
บทที่สี่ : โครงเรื่อง จุดจบ และความหมาย
4.0 ความมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย : การบีบคั้นและผ่อนคลาย : วิดีโอเกม : แผนการส่วนตัว : ยูไดโมเนีย
4.1 เหตุการณ์ในเรื่อง : โครงเรื่องมาตรฐานแบบห้าองก์ : โครงเรื่องสูตรสำเร็จปะทะเสียงประสานแห่งการเปลี่ยนแปลง
4.2 ศึกชี้ชะตา
ฯลฯ