มายาคติแห่งการพัฒนาที่เล่าขานโดยเหล่าเทคโนแครตอาจชวนให้เราหลงคิดไปว่า ความยากจนเป็นผลพวงจากการขาดแคลนความรู้ และการเชื่อฟังอภิชนผู้มีปัญญาคือหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความยากจน ทว่าประวัติศาสตร์กลับฉายภาพให้เราเห็นผลพวงอันเลวร้ายจากการพัฒนาแบบเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิของคนจนที่ถูกละเลย เสรีภาพที่โดนกดปราบและระบอบประชาธิปไตยที่อ่อนแอลง คำถามคือ มันคุ้มแล้วหรือที่จะยอมแลกสิ่งเหล่านี้กับคำมั่นสัญญาแห่งการพัฒนา?
"วิลเลียม อีสเตอร์ลี" ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก จะพาเราล่องสายธารแห่งประวัติศาสตร์การพัฒนาตั้งแต่ยุคอดีตกาล พร้อมสำรวจรากฐานและวิวาทะคลาสสิก ระหว่างฝ่ายที่ยึดมั่นในพลังเสรีของปัจเจกชนกับฝ่านที่ถือมั่นในความรู้ของเหล่าผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาอย่างรอบด้าน ผ่านงานวิจัยและตัวอย่างประกอบจากหลากหลายสาขาวิชา หนังสือ "ทรราชย์เทคโนแครต" ช่วยตอกย้ำว่า เหตุใดการพัฒนาถึงต้องตั้งอยู่บนฐานของสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย และทำไมการฝากความหวังไว้กับ "เผด็จการผู้ทรงธรรม" ให้ช่วยฉุดดึงเราออกจากหุบเหวแห่งความสิ้นหวัง จึงไม่อาจเป็นคำตอบของการพัฒนาได้
1. การโต้วาทีที่ไม่เคยเกิดขึ้น
- บทที่ 1 บทนำ
- บทที่ 2 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสองคนกับการโต้วาทีที่ไม่เคยเกิดขึ้น
2. เหตุใดที่ไม่เคยมีการโต้วาที : ประวัติศาสตร์ ที่แท้จริงของความคิดเรื่องการพัฒนา
- บทที่ 3 กาลครั้งหนึ่งในประเทศจีน
- บทที่ 4 เชื้อชาติ สงคราม และชะตากรรมของแอฟริกา
- บทที่ 5 วันหนึ่งในโบโกตา
3. แนวคิดผ้าขาว ปะทะ การเรียนรู้จากประวัติศาสตร์
- บทที่ 6 คุณค่า : การต่อสู้อันยาวนานเพื่อสิทธิบุคคล
- บทที่ 7 สถาบัน : เราจะกดขี่พวกเขาตราบเท่าที่ทำได้
- บทที่ 8 ความฝันของคนส่วยใหญ่
4. ชาติ ปะทะ บุคคล
- บทที่ 9 บ้านหรือคุก? ชาติกับการย้ายถิ่น
- บทที่ 10 ชาตินั้นสำคัญเพียงใด?
5. นโยบายที่ออกแบบมา ปะทะ ทางออกที่เกิดขึ้นเอง
- บทที่ 11 ตลาด : สมาคมนักแก้ปัญหา
- บทที่ 12 เทคโนโลยี : วิธีประสบความสำเร็จโดยไม่รู้ตัว
- บทที่ 13 ท่านผู้นำ : ทำไมเราจึงหลงเสน่ห์เผด็จการผู้ทรงธรรม
- บทที่ 14 บทสรุป