รูปภาพสินค้า รหัส9786167885605
9786167885605
หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงพาเราไปท่องประวัติศาสตร์หลากรสของเศรษฐกิจจีน แต่ยังวิเคราะห์รากฐานแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รวมถึงฉายภาพปัญหาในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคตของเศรษฐกิจจีนได้อย่างเจาะลึกรอบด้าน
ผู้เขียนJustin Yifu Lin (หลิน อี้ฟู)
ผู้แปลอักษรศรี พานิชสาส์น

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 450.00 บาท
ราคาสุทธิ 450.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786167885605
จำนวน: 416 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 144 x 211 x 22 มม.
น้ำหนัก: 440 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: กระดาษปรู๊ฟ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: openworlds, สนพ. 
เดือนปีที่พิมพ์: 10 / 2560
:: เนื้อหาโดยสังเขป
เหตุใดอาณาจักรจีนที่เคยเป็นมหาอำนาจอันยิ่งใหญ่ในอดีต กลับต้องล้าหลังกว่าประเทศตะวันตกที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สำเร็จก่อน ทำไมจีนในยุคสังคมนิยมจึงประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่ภายหลังปฏิรูปและเปิดประเทศในปี 1979 เศรษฐกิจจีนกลับเติบโตก้าวกระโดดอย่างน่าอัศจรรย์ แล้วจีนควรปฏิรูปไปในทิศทางใดเพื่อจัดการกับปัญหารุมเร้าในปัจจุบัน เช่น ความเปราะบางของระบบการเงินและช่องว่างรายได้ที่ถ่างกว้างขึ้น เพื่อรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องในศตวรรษที่ 21

"ศาสตราจารย์ ดร.หลิน อี้ฟู" นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของจีน จะช่วยไขปริศนาเศรษฐกิจจีน ตั้งแต่ช่วงประวัติศาสตร์อันเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน จนถึงยุคแห่งความยากจนตกต่ำ รวมทั้งความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางในยุคสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ก่อนจะผงาดขึ้นในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอีกครั้งหลังนำเศรษฐกิจกลไกตลาดมาปรับใช้อย่างจริงจัง

หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงพาเราไปท่องประวัติศาสตร์หลากรสของเศรษฐกิจจีน แต่ยังวิเคราะห์รากฐานแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน รวมถึงฉายภาพปัญหาในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคตของเศรษฐกิจจีนได้อย่างเจาะลึกและรอบด้าน ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการทำความเข้าใจระบบคิดเบื้องหลังเศรษฐกิจจีนเพื่อนำบทเรียนมาปรับใช้กับประเทศไทยอีกด้วย
:: สารบัญ
1 โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจจีน
2 ทำไมการปฏิวัติอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ถึงไม่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์จีน
3 ยุคแห่งความอัปยศและการปฏิวัติสังคมนิยม
4 การฝืนความได้เปรียบ ยุทธศาสตร์ เร่งเครื่องพัฒนา และระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม
5 ความสามารถในการอยู่รอดของวิสาหกิจ และความอุดมสมบูรณ์ของปัจจัยการผลิต
6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดคล้องกับความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
7 การปฏิรูปชนบทและปัญหาชนบทสามประการ
8 การปฏิรูปในเขตเมืองและปัญหาที่ยังคั่งค้าง
9 การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
10 การปฏิรูปทางการเงิน
ฯลฯ