ครอบครัวบำบัดสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านครอบครัวและเด็ก...เป็นคู่มือที่ผู้เขียนตั้งใจจะมอบให้ ผู้ปฏิบัติงานผู้ที่ทำงานด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ได้สัมผัสความรู้สึกดีๆ ที่มนุษย์พึงมีต่อกันเป็นความสุขที่สำผัสได้ วิธีการทำครอบครัวบำบัดแบบ แซทเทียยร์ ช่วยให้ผู้บำบัดปรับเปลี่ยนมุมมองเชิงบวกมองเห็นศักยภาพของความเป็นมนุษย์และมีพลังชีวิตที่จะช่วยเหลือตนเอง พร้อมที่จะดูแลคนอื่นๆ ในสังคม การใช้คู่มือให้ได้ผลสำเร็จ ผู้บำบัดต้องยึดหลัก 3 P คือ Practice Practice and Practice คู่มือฉบับนี้เป็นเพียงแนวทางในการบำบัดสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น การจะบำบัดเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ ผู้บำบัดควรศึกษาข้อมูลจากผู้รู้หรือเข้าสู่กระบวนการอบรมด้วยจะทำให้คู่มือเล่มนี้มีคุณค่าอย่างแท้จริง
บทที่ 1
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับครอบครัว
- สภาวะครอบครัวที่มีบุตรบกพร่องทางสติปัญญา
- ความหมายของครอบครัวบำบัด
ฯ
บทที่ 2
- การใช้รูปแบบการรับมือของบุคคลในการเข้าถึงผู้รับการบำบัด
- การสำรวจแผนที่ครอบครัว
- ขั้นตอนการทำครอบครัวบำบัด
ฯ
บทที่ 3
- ขั้นตอนการบำบัด
- การเริ่มต้นสัมภาษณ์
- กระบวนการตั้งคำถามในการบำบัด
ฯ
บทที่ 4
- กรณีศึกษาครอบครัวบำบัด
ขอชื่นชมผลงานวิชาการเชิงปฏิบัติงานในด้านครอบครัวและเด็กของ ดร.สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์ ที่ถ่ายทอดประสบการณ์จากการปฏิบัติงานสู่คู่มือปฏิบัติงานด้านครอบครัวบำบัด ที่ยังประโยชน์ต่อแวดวงงานสังคมสงเคราะห์ ทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติงานในด้านครอบครัวบำบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการพัฒนาครอบครัวและเด็ก
-- รศ.ดร.เดชา สังขวรรณ --
คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในนามสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ขอขอบพระคุณ ดร.สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์ ที่ได้ทุ่มเทตั้งใจถอดบทเรียนในการเรียนรู้และสร้างความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการนำไปปรับใช้กับการทำงานกับครอบครัว และเชื่อมั่นว่านักสังคมสังเคราะห์ที่ทำงานด้านครอบครัวและเด็กทุกท่าน จะได้พัฒนาการเรียนรู้ของตนจากงานที่มีคุณค่านี้เป็นอย่างยิ่ง
-- รองศสตราจารย์อภิญญา เวชยชัย --
นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย