"โลกาภิวัฒน์ที่ล่มสลาย" เล่มนี้ ถ่ายทอดโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งของยอดนักเศรษฐศาสตร์ของโลก ที่มีรางวัลทางด้านเศรษฐศาสตร์เป็นประกันถึงความเป็นนักวิชาการชั้นนำ ที่เฝ้ามองเหตุการณ์ของโลกโดยเฉพาะสถาบันการเงินอย่างธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ซึ่งสติกลิตซ์มองว่าให้โทษมากกว่าให้คุณ และชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนต่างๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างปะเทศได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศต่างๆ ที่ไปขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากไอเอ็มเอฟและแน่นอน สติกลิตซ์ย่อมมีความน่าเชื่อถือพอที่จะกล้าตำหนิไอเอ็มเอฟอย่างรุนแรงในเรื่องการบริหารจัดการจากการให้การกู้ยืมเงินกับประเทศต่างๆ
ข้อตำหนิของสติกลิตซ์จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากต่อนักการเมือง นักบริหาร และนักศึกษาทางด้านเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ คำแนะนำของเขาจึงเท่ากับเป็นภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่งที่เราควรจะให้ความสนใจอย่างมาก เผื่อสมมติว่า ไทยเกิดต้องเจอวิกฤติทางการเงินขึ้นมาอีก ก็คงต้องพิจารณาว่าการกู้ยืมเงินจากไอเอ็มเอฟนั้นให้คุณหรือโทษมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะจากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้
บทที่ 1 คำมั่นสัญญาของสถาบันโลก
บทที่ 2 คำสัญญาที่ไม่เป็นจริง
บทที่ 3 สิทธิในการเลือกอนาคตของตนเอง
บทที่ 4 วิกฤติเอเชียตะวันออก
บทที่ 5 ใครทำลายรัสเซีย
บทที่ 6 กฎหมายการค้าเป็นธรรม ที่ไม่เป็นธรรม
บทที่ 7 เส้นทางสู่ระบบตลาดเสรีที่ดีกว่า
บทที่ 8 วาระซ่อนเร้นอื่นๆ ของไอเอมเอฟ
บทที่ 9 หนทางที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า
อ่านเพลิน ได้สาระ กระตุ้นความคิด ฝ่าวิกฤติการณ์เศรษฐกิจแห่งศตวรรษ 1990 จากวิกฤติการเงินเอเชีย ถึงรัสเซีย และอาร์เจนตินา จากสายตาคนที่คลุกวงในผู้ที่เข้าถึงและเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างทะลุปรุโปร่ง
-- นิวยอร์ก ไทมส์ --
เรื่องราวของการต่อสู้ในทำเนียบขาว และธนาคารโลก คำสารภาพของนักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธพล ผู้มีจิตสำนึกทางการเมือง และมีสามัญสำนึกอันสูงส่ง
-- Village Voice --
สนุก ลึกซึ้ง และชวนอ่าน เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ลัทธิเศรษฐศาสตร์ ที่ถูกนำไปใช้กับประเทศกำลังพัฒนาอย่างทื่อๆ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง เป็นอันตรายมากกว่าเป็นประโยชน์อย่างไร
-- Foreign Affairs --