เทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2557 คล้อยหลังไปไม่นาน รัฐบาลสหรัฐอเมริกากับจีน สองประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันเกือบครึ่งของทั้งโลก ก็เปิดฉากการเจรจาข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรอบใหม่ ผู้นำทีมเจรจาของจีนประกาศว่า เขามั่นใจว่าการประชุมระดับโลกรอบต่อไปในปี 2558 จะไม่ล้มเหลวเหมือนกับครั้งที่ผ่านๆ มา เพราะมลพิษทางอากาศซึ่งกำลังรัดคอจีนและทำให้คนจีนกว่าร้อยละ 43 ประกาศว่าตนเป็น "นักสิ่งแวดล้อม" ทำให้รัฐบาลจีน "จำเป็น" จะต้องสร้างเศรษฐกิจที่เขียวกว่าเดิมให้ได้ ไม่ว่าจะเผชิญกับแรงกดดันภายนอกหรือไม่ก็ตาม
"เศรษฐกิจสีเขียว" หาใช่นามธรรมหรือวิมานในอากาศอีกต่อไป หากแต่เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในหลายระดับทั่วโลก และคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มจะแยกแยะความแตกต่างได้ ระหว่างธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน กับธุรกิจที่พยายามจะยั่งยืน ในยุคที่ความเร่งด่วนของวิกฤตสิ่งแวดล้อมนานัปการกดดันให้มนุษย์ยอมรับ "ความจำเป็น" ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นักธุรกิจ นักวิชาการ และพลเมืองที่มองการณ์ไกลจำนวนไม่น้อยเริ่มตระหนักในปัญหา หลายคน "รู้แล้วเปลี่ยน" ในระดับที่ตัวเองทำได้ แต่สังคมไทยโดยรวมยังนับว่าขาดแคลนข้อมูลและความรู้อีกมหาศาลที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง หนังสือเล่มนี้จึงเป็นส่วนเล็กๆ ของความพยายามที่จะเติมเต็มช่องว่างด้านข้อมูล ให้ทุกท่านเพลิดเพลินกับการอ่านเพื่อ "รู้" แล้วจะได้ร่วมแรงร่วมใจกัน "เปลี่ยน" สังคมเศรษฐกิจไทย ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนกว่าเดิม
ภาคที่ 1 : โลกใหม่ ข้อมูลใหม่
01 "ขีดจำกัด" ของการเติบโต : คำเตือนข้ามยุคจากหนังสือ 40 ปี
02 ความดักดานของภาคการเมืองและผู้ปล่อย "มลพิษคาร์บอน"
03 เศรษฐศาสตร์ของภาวะโลกร้อนและภาษีคาร์บอน
ฯลฯ
ภาคที่ 2 : โลกใหม่ เศรษฐกิจใหม่
01 "นิเวศบริการ" กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
02 "จากอู่สู่อู่" : สู่วิถี "ทุนนิยมหลังอุตสาหกรรม"
03 สู่เศรษฐกิจชีวมณฑล (Biosphere Economic)
ฯลฯ
ภาคที่ 3 : โลกใหม่ วิถีใหม่
01 ดัชนีโลกมีสุข (Happy Planet Index)
02 หนี้นิเวศ (Ecological Debt)
03 ออฟเซ็ตความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Offset)
ฯลฯ