ตำราเล่มนี้เป็นผลิตผลที่เกิดจากการสอนและความสนใจส่วนตัว เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนมาตั้งแต่ในสมัยที่ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ 40 ปีก่อน ซึ่งเป็นยุคแสวงหาที่นักศึกษาในขณะนั้นนิยมออกค่ายอาสาพัฒนา และมีการอภิปรายถกเถียงถึงแนวทางในการพัฒนาชนบทกันอย่างกว้างขวาง ต่อมาในช่วงปี 2528-2533 ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาวิจัย และร่วมเคลื่อนไหวเพื่อเสริมพลังความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหภาพแรงงานภาคอุตสาหกรรม ตำราเล่มนี้จึงเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้เขียน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาในชั้นเรียน การนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานพัฒนาในที่ต่างๆ การเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการทำวิจัยของผู้เขียนเอง ดังนั้นเนื้อหาของตำราเล่มนี้จึงอัดแน่นไปด้วยแนวคิดทฤษฎี และองค์ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงและศึกษาภาคสนามของผู้เขียนเอง รวมทั้งงานวิจัยของผู้อื่นอีกหลายท่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อนักวิชาการ นักศึกษา นักพัฒนา นักเคลื่อนไหว และผู้สนใจทั่วไป
- บทที่ 1 บทนำ
ภาคที่ 1 ข้อถกเถียงทางทฤษฎีด้วย "ชุมชน"
- บทที่ 2 ความเป็นสมัยใหม่ ชุมชนนิยม และความเป็นส่วนตัว "ข้อถกเถียงเชิงทฤษฎี"
- บทที่ 3 แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม
ภาคที่ 2 แนวคิดว่าด้วย "การเสริมพลังชุมชน"
- บทที่ 4 แนวคิด "การเสริมพลังชุมชน" ของ Paulo Freire
- บทที่ 5 แนวคิด "การเสริมพลังชุมชน" ของ Saul D. Alinsky
- บทที่ 6 แนวคิด "การเสริมพลังชุมชน" ของ Glenn Laverack
ภาคที่ 3 การพัฒนาฐานชุมชน
- บทที่ 7 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน
- บทที่ 8 การพัฒนาที่ขาดความสมดุล ป่าวิกฤติ กับการจัดการป่าชุมชนในรูปแบบภาคีสาธารณะ
- บทที่ 9 องค์กรการเงินชุมชน กับการเสริมพลังชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน
- บทที่ 10 บ้านมั่นคง สวัสดิการชุมชน กับการสร้างชุมชนเมืองเข้มแข็ง
- บทที่ 11 ชุมชนเข้มแข็ง กับการจัดการภัยพิบัติบนฐานชุมชน
- บทที่ 12 บทส่งท้าย
สำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน (ทั้งในเขตเมืองและชนบท) ด้วยเครื่องมือการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน หนังสือเล่มนี้เป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าในการสร้างปัญญาและจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ เพราะพรั่งพร้อมด้วยการอภิปรายและถกเถียงทางวิชาการ ที่รอบด้านและลุ่มลึกของแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่แฝงด้วยยุทธศาสตร์และรูปธรรมเชิงการปฏิบัติของการพัฒนาชุมชน รวมทั้งมีการสรุปเชื่อมโยงสู่ภาพรวมของชุมชนที่พึงปรารถนาและเป็นไปได้ในระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย
-- รองศาสตราจารย์ ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต --
คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นอกจากนี้ เนื้อหาสาระที่นำเสนอก็มีรายละเอียดมากที่ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ได้จริง... เชื่อว่าตำราเล่มนี้น่าจะให้ความรู้ ข้อคิด และใช้เป็นคู่มือหรือแนวทางใน การคิด การเขียน และนำไปใช้ปรับปรุงโครงการพัฒนาชุมชนในแง่มุมและประเด็นต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
-- รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.อำนาจ ศรีรัตนบัลล์ --
อดีตรองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเชื่อมโยงระหว่างวิชาการกับการเคลื่อนไหวทางสังคมในการเสริมพลังชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการในบริบทชีวิตจริงของสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดวิถีชีวิตทางสังคมของพวกเขาเองมากขึ้น ดังนั้นก่อนอื่น ควรมีการขยับทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ จากแนวกระแสหลักของหลักการทรงงานบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะเป็นศาสตร์พระราชา ไปสู่ศาสตร์ของประชาชน ก็น่าจะทำให้ทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติดังกล่าวมีความเป็นไปได้มากขึ้น
-- รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ --
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี