ปัจจุบันนี้ คนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงในด้านสุขภาพทั้งการใช้สารเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
การสื่อสารสุขภาพที่เหมาะสมทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สามารถจัดการสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวได้ ซึ่งจะช่วยลดภาระการรักษาพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุข การทำงานสื่อสารสุขภาพควรมุ่งยกระดับมาตรฐานสุขภาพของคนในชุมชน เชื่อมประสานทุกภาคส่วน บูรณาการการขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพและสุขศึกษาในระดับพื้นที่ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพ และสร้างความเท่าเทียมในสังคมให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
หนังสือ "การสื่อสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน" ประกอบด้วย หลักการสำคัญของการสื่อสารสุขภาพชุมชนและความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน รวมทั้งได้นำเสนอแนวทางพัฒนาการสื่อสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน สำหรับให้นักสื่อสารสุขภาพ กลุ่มขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ บุคลากรสาธารณสุข และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการทำงานและการวิจัยด้านสุขภาพต่อไป
บทที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพกับการสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 3 ทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 4 การดำเนินงานสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 5 การประเมินการสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 6 ปัจจัยกำหนดสุขภาพชุมชน
บทที่ 7 ความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน
บทที่ 8 แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน