"ภาษากฎหมาย" คือภาษาที่ใช้สื่อสารกันในวงการตุลาการและนักกฎหมายทั่วไป เป็นภาษาวิชาการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีวิวัฒนาการเคียงบ่าเคียงไหล่มากับภาษาไทย นับตั้งแต่ยังไม่มีอักษรไทยจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ในหนังสือ "ภาษากฎหมายไทย" เล่มนี้ ผู้เขียน "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" ได้ค้นคว้าเรียบเรียงวรรณกรรมกฎหมายที่น่าสนใจ ตั้งแต่ยุคโบราณของไทยถึงปัจจุบัน ตลอดจนวรรณกรรมกฎหมายของต่างประเทศ และแง่มุมต่างๆ ทางด้านภาษากฎหมายอีกมากมาย นอกจากเอกลักษณ์ทางเนื้อหาแล้ว การใช้ภาษาไทยของผู้เขียนนั้น ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นผู้ใช้ภาษาไทยที่ถูกแบบแผนมีศิลปะและมีรสนิยมมาเป็นเวลายาวนาน ผลงานทางวิชาการเล่มนี้จึงพร้อมมูลทั้งสาระและอรรถรส เป็นประโยชน์ยิ่งแก่นักศึกษากฎหมายโดยตรง และยังอำนวยประโยชน์รวมไปถึงนักศึกษาทางด้านภาษาหรืออักษรศาสตร์อีกด้วย
บทที่ 1 ความเป็นมาของภาษากฎหมายไทย
บทที่ 2 ภาษากฎหมายของนานาประเทศ
บทที่ 3 อิทธิพลของภาษาอังกฤษในภาษากฎหมายไทย
บทที่ 4 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับภาษากฎหมายไทยในปัจจุบัน
บทที่ 5 โวหารกฎหมายไทยที่ว่าดี, ดีนั้นประการใด?
บทที่ 6 การฝึกฝนเรื่องโวหารกฎหมาย
บทที่ 7 สรุปความ