หนังสือเล่มนี้อธิบายเนื้อหาสำคัญของวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายขัดกัน โดยเนื้อหาสำคัญเกี่ยกับกฎหมายสัญชาติ นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย เขตอำนาจศาล กฎเกณฑ์ว่าด้วยการเลือกกฎหมาย (ต่างประเทศ) การยอมรับและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ของศาลต่างประเทศและสถาบันระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล แนวการเขียนของหนังสือเล่มนี้อาศัยแนวทางประวัติศาสตร์ การศึกษากฎหมายเปรียบเทียบทั้งระบบคอมอนลอว์และภาคพื้นยุโรป รวมทั้งการศึกษาแบบวิเคราะห์ตัวบทกฎหมาย นำเสนอเนื้อหาโดยละเอียด พร้อมบทสรุปชัดเจน เข้าใจง่าย
ภาค 1 หลักกฎหมายสัญชาติไทย (Principles of Law on Thai Nationality)
ภาค 2 นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย (The Legal Status of Aliens in Thailand)
ภาค 3 การขัดกันแห่งเขตอำนาจศาล (Conflict of Jurisdictions)
ภาค 4 กฎหมายขัดกัน (Conflict of Laws)
ภาค 5 การรับรองและการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ (Recognition & Enforcement of Foreign Judgments)
ภาค 6 สถาบันทางวิชาการที่มีคุณูปการต่อกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและกฎหมายเปรียบเทียบ (The Contribution of Learned Institutions to Private International Law)
ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ฯ ได้ใช้ความวิริยอุตสาหะอย่างน่าชมเชยที่ได้เรียบเรียงคำบรรยายนี้ในส่วนสำคัญ ๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law) รวมทั้งได้อ้างอิงความเห็น ข้อเขียนและตำราของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งระบบ Common Law และ Civil Law อย่างมาก ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านทั้งที่เป็นนิสิตนักศึกษา บุคคลในวงการและนักวิชาการที่สนใจโดยทั่วไป ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้กฎหมายลักษณะนี้เป็นที่รับรู้มากยิ่งขึ้น
-- ศาสตราจารย์คนึง ฦาไชย --
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์