หนังสือ "การวิเคราะห์ข้อความ : Discourse analysis" เล่มนี้ เน้นการวางพื้นฐานด้านวิธีการการวิเคราะห์ภาษาที่สัมพันธ์กับบริบทการใช้จริงในสังคม ขี้ให้เห็นประเด็นข้อถกเถียงและความคลุมเครือเกี่ยวกับ Discourse analysis ในวงวิชาการไทย โดยแยกเป็นมิติที่แตกต่างกัน ระหว่างมุมมองด้านภาษากับมุมมองด้านสังคม พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์ทางภาษาที่สัมพันธ์กับสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่ประเด็นการวิพากษ์ โดยอาศัยหลักฐานด้านภาษาและตัวบทที่วิเคราะห์ได้จากระดับข้อความ จึงเหมาะสมกับนักวิชาการ นักวิจัย ที่สนใจประเด็นด้านภาษา การสื่อสาร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริง
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาระดับข้อความ (Discourse Analysis)
บทที่ 2 บริบท ชนิดของตัวบท และประเภทของข้อความ (Context, Text, Type and Discourse Genre)
บทที่ 3 โครงสร้างข้อความและการเชื่อมโยง (Discourse Structure and Cohesion)
บทที่ 4 กลวิธีทางภาษาในข้อความ (Linguistic Strategies in Discourse)
บทที่ 5 การวิเคราะห์เรื่องเล่า (Narrative Analysis)
บทที่ 6 การวิเคราะห์บทสนทนา (Conversation Analysis)
บทที่ 7 การวิเคราะห์ข้อความกับชาติพันธุ์วรรณนา (Discourse Analysis and Ethnography)
บทที่ 8 บทส่งท้าย (Coda) : การวิจัยด้านการวิเคราะห์ข้อความ