"ภาษาศาสตร์" คืออะไร อาจมีผู้เข้าใจว่าภาษาศาสตร์คือวิชาที่ศึกษาภาษาต่างๆ และนักภาษาศาสตร์ หมายถึงผู้ที่พูดได้หลายภาษา ตามความเป็นจริง "ภาษาศาสตร์" คือศาสตร์ที่ศึกษาภาษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (the scientific study of language) โดยวิเคราะห์ภาษาใน 3 ลักษณะคือ รูปภาษา ความหมาย และการใช้ภาษาตามปริบท เช่น วิเคราะห์การประกอบเสียงเป็นคำที่มีความหมาย การสร้างคำและประโยค และศึกษาอิทธิพลของปริบทต่อการใช้ภาษาและการตีความ ฉะนั้นหลักการทางภาษาศาสตร์จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาภาษาได้ทุกภาษา นอกจากนี้ การศึกษาภาษายังสามารถศึกษาในเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เกิดเป็นศาสตร์ย่อยต่างๆ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา ภาษาศาสตร์เชิงสังคม ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ภาษา ตลอดทั้งการประยุกต์หลักการทางภาษาศาสตร์เพื่อการสอนภาษา การแปล การทำพจนานุกรม หรือการแก้ไขปัญหาด้านการพูด การศึกษาภาษาตามวิธีทางภาษาศาสตร์ จึงช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของภาษาและวิธีการสื่อสารของผู้พูด ตลอดทั้งเข้าใจความหลากหลายของภาษาในสังคม
บทที่ 1 ภาษาคืออะไร
บทที่ 2 ภาษากับการสื่อสาร
บทที่ 3 เสียง
บทที่ 4 ระบบเสียง
บทที่ 5 ระบบคำ
บทที่ 6 ระบบประโยค
บทที่ 7 ระบบข้อความ
บทที่ 8 ระบบความหมาย
บทที่ 9 ภาษากับสังคม
บทที่ 10 ภาษา เจตนา และปริบท
ฯลฯ