หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะ ความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ของบทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย ตลอดจนการสร้างสรรค์บทพรรณนาชนิดต่างๆ ของกวีไทยแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ว่ามีการสืบทอด สร้างใหม่ และการสร้างสรรค์ในกระบวนการสืบทอดหรือนำบทพรรณนาเดิมมาใช้หรือสร้างใหม่ เพื่อสื่อความคิดใหม่ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศึกษากวีนิพนธ์ไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าบทบาทหน้าที่และความสำคัญของบทพรรณนาชนิดต่างๆ มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์ทางการประพันธ์ และเป็นเครื่องมือสื่อความคิดที่แสดงออกตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย กวีไทยยังสืบสรรค์บทพรรณนาชนิดต่างๆ ทำให้เห็นว่าแบบแผนหรือขนบการพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย มี "มิติใหม่" อันเกิดจากการนำธรรมเนียมนิยมเดิมมาสร้างใหม่ได้ไม่รู้จบ ทั้งนี้เกิดจากการเข้าถึงแก่นของแบบแผนเดิมนำมาเป็นรากฐานการสืบสรรค์ ซึ่งก่อให้เกิดพลวัตและพลังแห่งการสื่อสารในบริบทของสังคมร่วมสมัย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วัฒนธรรมการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ไทย
บทที่ 3 การสร้างบทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย
บทที่ 4 บทบาทและความสำคัญของบทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย
บทที่ 5 การสืบสรรค์บทพรรณนาของกวีไทยสมัยใหม่
บทที่ 6 บทสรุป