การออกแบบระไฟฟ้าจะต้องประกอบด้วยระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าสื่อสาร ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จะแตกต่างจากท้องตลาดทั่วๆ ไป กล่าวคือจะมีครบทั้งระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าสื่อสาร อีกทั้งยังมีตัวอย่างอาคารให้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางของการออกแบบ โดยตัวอย่างจะมีโครงสร้างอาคารเหมือนกันคือทั้งโรงพยาบาล โรงแรม พิพิธภัณฑ์ ซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นของการออกแบบระบบไฟฟ้าได้ว่าโครงสร้างเป็นส่วนประกอบเท่านั้น แต่ฟังก์ชันของการใช้งานจะแตกต่างกัน และจะพบฟังก์ชันดังกล่าวได้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะสามาถนำไปพัฒนาต่อไปได้ และเพื่อความเข้าใจในอุปกรณ์ ผู้อ่านควรจะมีหนังสือ อุปกรณ์และการติดตั้งในงานระบบไฟฟ้า ประกอบด้วย ซึ่งจะเพิ่มความเข้าใจทั้งทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป
บทที่ 1 มาตรฐาน นิยาม สัญลักษณ์ และอื่นๆ ทางไฟฟ้า
บทที่ 2 พื้นฐานทางด้านไฟฟ้า
บทที่ 3 การคำนวณหากระแสลัดวงจร
บทที่ 4 วันไลน์ไดอะแกรม
บทที่ 5 ไรเซอร์ไดอะแกรม
บทที่ 6 การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังในระบบไฟฟ้า
บทที่ 7 การต่อลงดิน
บทที่ 8 ขนาดของทางเดินสาย สายเคเบิล และท่อที่เป็นทางเดิน
บทที่ 9 การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
บทที่ 10 อุปกรณ์และการป้องกันระบบไฟฟ้า
บทที่ 11 หลักการปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกันในงานระบบไฟฟ้า
บทที่ 12 วงจรไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์
บทที่ 13 หลักการออกแบบระบบไฟฟ้า
ภาคผนวก ก. แผนภาพตามมาตรฐานของ DIN, BS, ANSI, และ IEC
ภาคผนวก ข. ขั้นตอนการหาขนาดสาย
ภาคผนวก ค. ระบบไฟฟ้าในสถานพยาบาล