รูปภาพสินค้า รหัส2223000002494
2223000002494
-
ผู้เขียนดร.บัญชา สุปรินายก

ส่วนลด 0 %
ราคาปก 175.00 บาท
ราคาสุทธิ 175.00 บาท
Bookmark and Share
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 2223000002494
จำนวน: 387 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 185 x 256 x 21 มม.
น้ำหนัก: 795 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ 
ชนิดปก: ปกอ่อน 
ชนิดกระดาษ: -ไม่ระบุ 
หน่วย: เล่ม 
สำนักพิมพ์: ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), สนพ. สมาคม 
เดือนปีที่พิมพ์: 5 / 2535
พิมพ์ครั้งล่าสุด:ครั้งที่ 9 เดือน 8 ปี 2003
:: เนื้อหาโดยสังเขป
หนังสือวิเคราะห์โครงสร้างนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านที่สนใจการวิเคราะห์โครงสร้างได้ศึกษาและทำความเข้าใจทฤษฏีต่าง ๆ ซึ่งผู้เขียนพยายามอธิบายแต่ละขั้นตอนค่อนข้างละเอียดพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ เริ่มจากตัวอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจทฤษฏีก่อนแล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นตามลำดับจากประสบการณ์การสอนวิชานี้มาเป็นเวลานานปีพอประเมินได้ว่า เทคนิคการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นผู้วิเคราะห์จะต้องเข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยเพราะข้อผิดพลาดในรายละเอียดนำไปสู่ผลการวิเคราะห์ที่ผิดเสมอ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเน้นถึงรายละเอียดดังกล่าว และมุ่งหวังว่าเมื่อได้ทำการศึกษาแล้วจะต้องสามารถทำการวิเคราะห์โครงสร้างได้เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการคำนวณออกแบบโครงสร้างต่อไป
ผู้ศึกษาวิชาวิเคราะห์โครงสร้างจำเป็นต้องพื้นความรู้วิชาทฤษฏีโครงสร้าง (Theory of Structures) พอสมควรเพราะเนื้อหาของสองวิชานี้ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 14 บท จำแนกได้ 3 ส่วนคือ บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทั่วไป กล่าวถึงหลักการขั้นพื้นฐานในการวิเคราะห์โครงสร้างการพิจารณาความมั่นคงและดีเทอร์มิเนซีของโครงสร้าง หลักการเขียนแนวการโก่งตัวของโครงสร้าง ส่วนที่ 2 ครอบคลุมตั้งแต่บทที่ 2 ถึงบทที่ 5 เกี่ยวกับทฤษฏีคำนวณระยะโก่งต่าง ๆ ของโครงสร้าง ส่วนที่ 3 ได้แก่ การวิเคราะห์โครงสร้างแบบอินดีเทอร์มิเนท บทที่ 13 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีพลาสติค และ บทที่ 14 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเมทริกซ์ ซึ่งบทที่ 14 นี้จะกล่าวเฉพาะหลักการเบื้องต้นพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ เพื่อเป็นรากฐานสำหรับการศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างชั้นสูง และเพื่อเป็นพื้นฐานการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โครงสร้างที่มีมากมายในท้องตลาดขณะนี้
:: สารบัญ
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทั่วไป
1.1 การวิเคราะห์โครงสร้างและการออกแบบโครงสร้าง
1.2 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้าง
1.3 ชนิดของโครงสร้าง
1.4 หลักการขั้นพื้นฐานในการวิเคราะห์โครงสร้าง
1.4.1 สภาวะสมดุลของแรง
1.4.2 สภาวะสอดคล้อง
1.4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยแรงและความเครียด
1.5 ความมั่นคงของโครงสร้าง
1.6 ดีเทอร์มิเนซีของโครงข้อแข็ง
1.6.1 ดีเทอร์มิเนซีของโครงข้อหมุน
1.6.2 ดีเทอร์มิเนซีของโครงข้อแข็ง
1.7 หลักการเขียนแนวการโก่งตัวขององค์อาคาร
แบบฝึกหัดที่ 1
บทที่ 2 ทฤษฏีพื้นที่โมเมนต์
2.1 ทฤษฏีพื้นที่โมเมนต์
2.2 ระบบเครื่องหมาย
2.3 พื้นที่และจุดศูนย์ถ่วงของไดอะแกรมโมเมนต์ดัด
แบบฝึกหัดบทที่ 2
บทที่ 3 ทฤษฏีคานคอนจูเกต
3.1 ทฤษฏีที่ 1 และทฤษฏีที่ 2
3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างฐานรองรับของคานจริงและคานคอนจูเกต
3.3 ระบบเครื่องหมาย
แบบฝึกหัดบทที่ 3
บทที่ 4 หลักการของงานเสมือน
4.1 หลักการของงานเสมือน
4.2 สมการสำหรับหลักการของแรงเสมือน
แบบฝึกหัดบทที่ 4
บทที่ 5 ทฤษฏีคาสติเกลียโน
5.1 ทฤษฏีคาสติเกลียโน
5.2 พลังงานความเครียด
5.2.1 พลังงานความเครียดเกิดจากแรงตามแนวแกนองค์อาคาร
5.2.2 พลังงานความเครียดเกิดจากโมเมนต์ดัด
5.2.3 พลังงานความเครียดเกิดจากโมเมนต์บิด
5.2.4 พลังงานความเครียดเกิดจากโมเมนต์เฉือน
แบบฝึกหัดบทที่ 5
บทที่ 6 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยหลักการรวมผล
6.1 หลักการรวมผล
6.2 วิเคราะห์โครงสร้างแบบอินดีเทอร์มิเนทด้วยหลักการรวมผล
แบบฝึกหัดบทที่ 6
บทที่ 7 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยสมการสามโมเมนต์
7.1 สมการสามโมเมนต์
แบบฝึกหัดบทที่ 7
บทที่ 8 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีมุมลาด-การโก่ง
8.1 สมการมุมลาด-การโก่ง
8.2 ระบบเครื่องหมาย
8.3 โมเมนต์ดัดที่ปลายยึดแน่น
8.4 ค่าสติฟเนสสัมพัทธ์
แบบฝึกหัดบทที่ 8
บทที่ 9 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีกระจายโมเมนต์
9.1 วิธีกระจายโมเมนต์
9.2 ระบบเครื่องหมาย
9.3 โครงสร้างที่มีการเซ
แบบฝึกหัดบทที่ 9
บทที่ 10 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยทฤษฏีลิสเวอร์ค
10.1 ทฤษฏีลิสเวอร์ค
แบบฝึกหัดบทที่ 10
บทที่ 11 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเสาอุปมาน
11.1 หลักการของวิธีเสาอุปมาน
11.2 การคำนวณโมเมนต์ดัดที่ปลายยึดแน่นด้วยวิธีเสาอุปมาน
11.3 คำนวณตัวประกอบนำข้ามและตัวประกอบสติฟเนสด้วยวิธีเสาอุปมาน
11.4 วิเคราะห์โครงข้อแข็งด้วยวิธีเสาอุปมาน
แบบฝึกหัดบทที่ 11
บทที่ 12 อินฟลูเอ็นซไลน์สำหรับโครงสร้างอินดีเทอร์มิเนท
12.1 ทฤษฏีแบตตีและแม็กซเวลล์
12.2 อินฟลูเอ็นซไลน์สำหรับโครงสร้างอินดีเทอร์มิเนท
แบบฝึกหัดบทที่ 12
บทที่ 13 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีพลาสติค
13.1 วิเคราะห์โครงสร้างดีเทอร์มิเนทและอินดีเทอร์มิเนทด้วยวิธีพลาสติค
13.2 ความหมายของพลาสติคฟิเคชั่น จุดต่อหมุนพลาสติค เมคคานิซึม และการพังทลาย
13.3 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีพลาสติค
13.3.1 วิธีสมดุล
13.3.2 วิธีเมคคานิซึม
แบบฝึกหัดบทที่ 13
บทที่ 14 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเมทริกซ์
14.1 วิธีของแรงและวิธีการเปลี่ยนรูป
14.2 สัมประสิทธิ์เฟลกซิบิลิตีและสัมประสิทธิ์สติฟเนส
14.3 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเฟลกซิบิลิตีและวิธีสติฟเนส
14.3.1 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเฟลกซิบิลิตี
14.3.2 วิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีสติฟเนส
แบบฝึกหัดบทที่ 14
บรรณานุกรม
ศัพท์วิชาการ